ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์สักทอง

         015

จากบ้านแก้วสู่บ้านสักทอง

        ประมาณเดือนกันยายน ๒๕๓๑ ได้มีผู้เสนอขายบ้านไม้สักทองชื่อ “บ้านแก้ว” เป็นบ้านไม้สักทองหลังใหญ่คู่กับบ้านประทับใจจังหวัดแพร่ ซึ่งเปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชมก่อนที่จะเป็น “บ้านแก้ว” นี้ ได้มีการรวมไม้เก่าที่ใช้ปลูกบ้านอยู่อาศัยมานานหลายปีอันเป็นไม้สักทองที่ปลูกอยู่ทางภาคเหนือ จำนวน ๑๑ หลัง มาปลูกเป็นบ้านหลังเดียว รูปทรงเป็นทรงทางเหนือใต้ถุนมุงหลังคาสังกะสีชั้นล่างเป็นพื้นดินถมแน่นเพื่อใช้จอดรถส่วนตัว ทำให้ดูไม่สวยงามและได้ประโยชน์ใช้สอยไม่คุ้มค่า เจ้าของ “บ้านแก้ว”เองก็มีอายุมากแล้วสุขภาพไม่ค่อยดีนัก ลูกหลานก็แยกย้ายกันประกอบอาชีพและรับราชการอยู่ที่กรุงเทพฯ อันที่จริงเจ้าของบ้านแก้วมีความประสงค์จะขายให้ผู้อื่นแต่เมื่อขายไปแล้วไม้ที่มีคุณค่าทั้งหมดนี้จะถูกแปรรูปเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยอย่างน่าเสียดาย จึงได้ขอร้องให้มูลนิธิศาสตราจารย์.ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน  รับซื้อไว้เพราะเชื่อว่ามูลนิธิฯจะต้องรักษาสภาพของไม้ของ “บ้านแก้ว”ไว้ในสภาพที่ดีและจะเป็นสถานที่ทัศนศึกษาของประชาชนต่อไป

        ในต่างประเทศเฉพาะประเทศแถบสแกนดิเนเวีย เช่น ประเทศนอร์เวย์ ได้ให้ความสำคัญแก่สิ่งก่อสร้างที่ทำด้วยไม้มาก การเข้าชมต้องถอดรองเท้า ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามใช้แฟลซถ่ายรูปจึงจะสามารถรักษาสิ่งก่อสร้างด้วยไม้ไว้ได้นาน ทั้งๆที่ไม้ที่นำมาก่อสร้างจะเทียบกับบ้านสักทองหลังนี้ไม่ได้ ในประเทศญี่ปุ่นและประเทศจีนสิ่งก่อสร้างด้วยไม้ โดยเฉพาะเสาจะถูกทาสีทับอย่างหนามองไม่เห็นเนื้อไม้ฉะนั้นแนวทางในการสร้างบ้าน  “บ้านสักทอง” จึงยึดแนวทางอนุรักษ์คุณค่าของไม้สักทองซึ่งเป็นของหายากไว้ในสภาพที่เป็นธรรมชาติที่สุด นอกจากนั้นมีความคิดเสียดายสถาปัตยกรรมสมัย ๗๐-๘๐ ปีมาแล้วที่การสร้างบ้านได้เลียนแบบชาวตะวันตก เช่น บ้านตามแนวถนนสาทรซึ่งเรียกว่าบ้าน “แบบขนมปังขิง” บ้านแบบนี้น่าเสียดายที่ไม่มีใครคิดสร้างขึ้นอีกรวมทั้งบ้านที่มีอยู่ในปัจจุบันก็มีมีสภาพทรุดโทรมและถูกรื้อถอนไปในที่สุด จึงมีความคิดนำไม้สักทองมาสร้างบ้านตามแนวทางบ้าน “แบบขนมปังขิง” เพื่อเป็นการผสมผสานแนวทางตะวันออกและตะวันตกเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืนตามรอยพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

          “บ้านสักทอง” หลังนี้ ไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยแต่ได้แสดงให้เห็นว่าการสร้างบ้านโดยไม้สักทอง ซึ่งมีเสาเกินกว่าสองคนโอบ ถึง ๕๙ ต้น พื้นกระดานแผ่นใหญ่และทุกส่วนทำด้วยไม้สักทั้งสิ้นสามารถสร้างเป็นบ้านพักอาศัยได้อย่างสวยงาม

          “บ้านสักทอง” หลังนี้สร้างขึ้นเพื่อต้องการอนุรักษ์ไม้สักทองส่วนหนึ่งไว้ไม่ให้ถูกขายไปแปรรูปเป็นชิ้นส่วนเล็กและปราศจากคุณค่าไปในที่สุดแต่ต้องการอนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติของชาติสืบไปเยาวชนทั้งหลายจะมีโอกาสชมความยิ่งใหญ่และความงดงามของไม้สักทองซึ่งเคยเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทยสิ่งหนึ่งนอกจากข้าว แต่สิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นอดีตแล้วเพราะการทำลายป่าของผู้ที่เห็นประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม

 

                             capture-20141213-104745_Fotor

จากบ้านสักทองสู่พิพิธภัณฑ์สักทอง

016

 

“บ้านสักทอง” ได้ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๓๒ เสมือนคืนชีวิตให้กับบ้านแก้วอีกครั้ง แต่สิ่งสำคัญยิ่งเหนืออื่นใดก็คือการที่บ้านสักทองนี้เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงความต้องการที่จะอนุรักษ์ไม้สักทองไว้เป็นสมบัติของชาติตลอดจนให้เยาวชนทั้งหลายมีโอกาสชมความยิ่งใหญ่ความงดงามของไม้สักทองที่เก่าแก่และผูกพันกับวิถีชีวิตของชาวไทยที่มี่ต่อไม้สักมาอย่างยาวนาน

 

14-15_ok

 

ต่อมา ศาสตราจารย์ดร.อุกฤษ-ท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน ประธานและรองประธานโครงการบูรณะพระอารามวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร มีจิตศรัทธาถวายบ้านสักทองหลังนี้ให้แก่วัดเทวราชกุญชร เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้  การอนุรักษ์ เป็นศูนย์เผยแพร่ความรู้ด้านพระพุทธศาสนาและเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปีในปี พ.ศ.๒๕๔๙ และทรงมีพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา ในปี พ.ศ.๒๕๕๐ โดยมีชื่อว่า “อาคารพิพิธภัณฑ์สักทอง”จะจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ด้านพระพุทธศาสนาที่สำคัญเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนทั่วไปทั้งชาวไทยและต่างชาติ

 

0077

 

 “ขอให้ผู้มีเกียรติที่มีโอกาสได้ชม “บ้านสักทอง” หลังนี้

จงมีจิตใจในการรักษาป่าไม้ ต้นไม้และความตั้งใจที่อนุรักษ์วัฒนธรรมของชาติไทยไว้สืบไป”

capture-20141213-104745_Fotor

                 Click-Here-PNG-HD1396519235-o

Hackความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์สักทอง