1.วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
ตามที่ ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน และท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน ได้มีจิตเมตตา รับเป็นประธานและรองประธาน บูรณะพระอารามวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร ซึ่งขณะนั้น (พ.ศ. 2544) เสนาสนะถาวรวัตถุสำคัญต่างๆ ภายในวัดมีสภาพชำรุดทรุดโทรมมากทุกรายการ ปัจจุบันนี้เสนาสนะถาวรวัตถุต่างๆ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มีสภาพที่งดงาม สมเป็นพระอารามหลวงได้อำนวยประโยชน์ทางพุทธศาสนา ให้ผู้มีจิตศรัทธาร่วมอนุโมทนาสาธุการเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ เพราะอาศัยท่านทั้งสอง ที่มีจิตกุศลศรัทธาอย่างแรงกล้าได้บริจาควัตถุมงคลสำคัญ เพื่อเป็นสิริมงคลและมอบเป็นอนุสรณ์บุญแก่ผู้มีจิตศรัทธา และบริจาคบ้านสักทองรวมถึงวัตถุสิ่งของ สนับสนุนโครงการก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร ตั้งแต่ต้นถึงปัจจุบัน มีรายการพอสรุปได้ ดังนี้
- โครงการบูรณะพระอุโบสถ วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร เริ่มดำเนินการวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2545 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ – ท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน ได้ถวายพระสมเด็จนางพญา สก. ทองคำหนักสองสลึงจำนวน 214 องค์ เพื่อมอบให้ผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญรายละ 20,000 บาท (สองหมื่นบาท) รวมเป็นเงิน 4,280,000 บาท (สี่ล้านสองแสนแปดหมื่นบาท)
- โครงการก่อสร้าง อาคารสงฆ์พระมงคลนาวาวุธ วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร เริ่มดำเนินการวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ศาสตราจารย์ ดร. อุกฤษ – ท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวินได้ถวายพระ รวม 5 รายการคือ
- พระพุทธสิริกิตติพิพัฒน์ ทองคำหนักหกสิบบาท จำนวน 5 องค์ เพื่อมอบให้ผู้มีจิตศรัทธา ร่วมทำบุญรายละ 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาท) รวมเป็นเงิน 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาท)
- พระพุทธสิริกิตติพิพัฒน์ ทองคำหนักยี่สิบบาท จำนวน 16 องค์ เพื่อมอบให้ผู้มีจิตศรัทธา ร่วมทำบุญ รายละ 300,000 บาท (สามแสนบาท) รวมเป็นเงิน 4,800,000 บาท (สี่ล้านแปดแสนบาท)
- พระกริ่งหลวงปู่โต๊ะ รุ่นเฉลิมพระเกียรติ สก. จำนวน 75 องค์ เพื่อมอบให้ผู้มีจิตศรัทธา ร่วมทำบุญ รายละ 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาท) รวมเป็นเงิน 3,750,000 บาท(สามล้านเจ็ดแสนห้าหมื่นบาท)
- พระสมเด็จนางพญา สก. ทองคำหนักหนึ่งบาท จำนวน 21 องค์ เพื่อมอบให้ผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญรายละ 40,000 บาท (สี่หมื่นบาท) รวมเป็นเงิน 840,000 บาท(แปดแสนสี่หมื่นบาท)
- พระสมเด็จนางพญา สก. ทองคำหนักสองสลึง จำนวน 284 องค์ เพื่อมอบให้ผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญรายละ 20,000 บาท (สองหมื่นบาท) รวมเป็นเงิน 5,680,000 บาท(ห้าล้านหกแสนแปดหมื่นบาท)
- โครงการบูรณะพระวิหาร ศาลาราย พระเจดีย์ ซุ้มประตู ปูพื้นหินทรายแดง และกำแพงแก้วรอบพระอุโบสถ ถวายเป็นพระราชกุศลในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ เริ่มดำเนินการวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ – ท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน ได้ถวายพระรวม 4 รายการคือ
- พระพุทธสิริกิตติพิพัฒน์ ทองคำหนักหกสิบบาท จำนวน 2 องค์ เพื่อมอบให้ผู้มีจิตศรัทธา ร่วมทำบุญรายละ 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาท) รวมเป็นเงิน 2,000,000 บาท (สองล้านบาท)
- พระพุทธสิริกิตติพิพัฒน์ ทองคำหนักยี่สิบบาท จำนวน 1 องค์ เพื่อมอบให้ผู้มีจิตศรัทธา ร่วมทำบุญรายละ 300,000 บาท (สามแสนบาท) รวมเป็นเงิน 300,000 บาท(สามแสนบาท)
- พระกริ่งหลวงปู่โต๊ะ รุ่นเฉลิมพระเกียรติ สก. จำนวน 2 องค์ เพื่อมอบให้ผู้มีจิตศรัทธา ร่วมทำบุญ รายละ 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาท) รวมเป็นเงิน 100,000 บาท(หนึ่งแสนบาท)
- พระสมเด็จนางพญา สก. ทองคำหนักหนึ่งบาท จำนวน 1 องค์ เพื่อมอบให้ผู้มีจิตศรัทธา ร่วมทำบุญรายละ 40,000 บาท (สี่หมื่นบาท) รวมเป็นเงิน 40,000 บาท (สี่หมื่นบาท)
- โครงการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์สักทอง วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การอนุรักษ์ เป็นศูนย์เผยแพร่ความรู้ทางด้านพุทธศาสนา และเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในมงคลวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในมงคลวโรกาส ที่เจริญพระชนมพรรษา 75 พรรษา ปี พ.ศ. 2550 เริ่มดำเนินการวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาสตราจารย์ ดร. อุกฤษ – ทานผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน ได้ถวายบ้านสักทอง พร้อมด้วยวัตถุสิ่งของและถวายพระ มีรายการสรุปได้ดังนี้
- พระสมเด็จนางพญา สก. ทองคำหนักหนึ่งบาท จำนวน 5 องค์ เพื่อมอบให้ผู้มีจิตศรัทธา ร่วมทำบุญายละ 40,000 บาท (สี่หมื่นบาท) เลี่ยมกรอบทองคำ จำนวน 1 องค์ เพื่อมอบให้ผู้มีจิตศรัทธา ร่วมทำบุญ รายละ 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาท) รวมเป็นเงิน250,000 บาท (สองแสนห้าหมื่นบาท)
- พระสมเด็จนางพญา สก. ทองคำสองสลึง จำนวน 1,261 องค์ เพื่อมอบให้ผู้มีจิตศรัทธา ร่วมทำบุญรายละ 20,000 บาท (สองหมื่นบาท) เลี่ยมกรอบทองคำ 1 องค์ เพื่อมอบให้ผู้มีจิตศรัทธา ร่วมทำบุญ รายละ 25,000 บาท (สองหมื่นห้าพันบาท) รวมเป็นเงิน 25,245,000 บาท (ยี่สิบห้าล้านสองแสนสี่หมื่นห้าพันบาท)
- พระสมเด็จเชียงแสนเนื้อผงผสมแร่ ปี 2522 รุ่นชุนดูฮวาน จำนวน 20 องค์ เพื่อมอบให้ผู้มีจิตศรัทธา ร่วมทำบุญรายละ 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาท) รวมเป็นเงิน1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาท)
- บ้านสักทองหลังเก่า ซึ่งประมาณค่ามิได้ ได้ดำเนินการรื้อถอนขนย้ายมาปลูกสร้างพร้อมตกแต่งเพิ่มเติม ที่วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร จนแล้วเสร็จ จ่ายแล้ว 48,000,000 บาท (สี่สิบแปดล้านบาท) คงค้างจ่ายบริษัท ป.ว.ช. ลิขิตการสร้าง จำนวน22,000,000 บาท (ยี่สิบสองล้านบาท) และได้ประมาณค่าตกแต่งภายในและค่าไม้สักทองไว้ 40,000,000 บาท (สี่สิบล้านบาท) รวมค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 110,000,000 บาท (หนึ่งร้อยสิบล้านบาท) ได้เปิดให้ประชาชนทั่วไป ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เข้าชมความงดงามของไม้สักทอง ซึ่งมีต้นเสา 59 ต้น อายุกว่า 479 ปี และได้บูชาสักการะ พระพุทธรูปสำคัญพระบรมสารีริกธาตุและพระรูปสมเด็จพระสังฆราช 18 พระองค์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นต้น
- มีวัตถุสิ่งของหลายรายการตามที่ปรากฏในพิพิธภัณฑ์สักทอง ที่ท่านทั้งสองมีกุศลจิตศรัทธานำมาจัดแสดงไว้ และมีสิ่งของบางรายการที่ขนย้ายมาพร้อมบ้านสักทองหลังเก่าได้นำมาใช้ประโยชน์ที่พิพิธภัณฑ์สักทองและภายในวัดเทวราชกุญชร บางรายการเก็บรักษาไว้เพื่อรอการจัดตามที่ท่านทั้งสองเห็นสมควร บางรายการชำรุดเสียหายผุพังไปตามสภาพบ้าง
- การร่วมทำบุญ กับศาสตราจารย์ ดร. อุกฤษ – ท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน
- ร่วมบริจาคเตียงผู้ป่วยระบบไฟฟ้า ให้แก่ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2546 จำนวนเงิน 1,392,000 บาท (หนึ่งล้านสามแสนเก้าหมื่นสองพันบาท)
- ร่วมบริจาคสร้างอุโบสถวัดมณเฑียร จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2547 จำนวนเงิน 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาท)
- ร่วมบริจาคให้วัดถ้ำสิงโตทอง จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 จำนวนเงิน 500,000 บาท (ห้าแสนบาท)
ส่วนการบริหารและการจัดพิพิธภัณฑ์สักทอง วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร ขอให้เป็นไปตามเจตนารมย์ของท่านทั้งสอง
การพัฒนาวัดเทวราชกุญชร วรวิหารที่ท่านทั้งสองและอาตมภาพ ได้ร่วมกัน ทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจ สติปัญญา พร้อมทั้งประสบการณ์ ทุกสิ่งทุกอย่างตลอดระยะเวลา 8 ปี แม้ไม่สามารถคิดเป็นมูลค่าได้ทั้งหมด แต่เป็นคุณค่าทางจิตใจอย่างยิ่ง
ในโอกาสนี้ ขออนุโมทนาบุญเป็นพิเศษแด่ท่านทั้งสอง ที่ได้ทุ่มเททำนุบำรุงวัดเทวราชกุญชร ให้วัฒนาสถาพร ตลอดไป
ขอเจริญพร
(พระเทพคุณาภรณ์)
เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร
หลังการบูรณะ
อาคารสงฆ์พระมงคลนาวาวุธ
พระมงคลนาวาวุธ เป็นราชทินนามของบิดา ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ลักษณะของอาคารเป็นทรงปั้นหยาประยุกต์ ๔ ชั้น จำนวน ๔๙ ห้อง เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหลัง พื้นปูด้วยกระเบื้อง ผนังก่อด้วยอิฐ บ.ป.ก. หลังคาโครงเหล็กมุงด้วยกระเบื้องพรีม่า ขนาดกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๔๒ เมตร เป็นอาคารที่พักสงฆ์ เพื่อรองรับพระภิกษุสามเณรต่างจังหวัดที่ต้องการเข้ามาศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมในกรุงเทพฯ แต่ไม่มีที่พัก สามารถเข้ามาพักอยู่ที่อาคารสงฆ์หลังนี้ได้และเป็นการสืบศาสนาธรรมทายาท ซึ่งอาคารดังกล่าวได้รับความร่วมมือจาก ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวินและท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนเป็นประธานในการก่อสร้างและพระราชสุธี เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร (ในขณะนั้น) เป็นประธานดำเนินการก่อสร้าง โดยเริ่มพิธีตอกเสาเข็มเป็นปฐมฤกษ์ต้นเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๖ สร้างเสร็จเมื่อวันที่ ๓๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ อาคารสงฆ์หลังนี้กล่าวได้ว่าเป็นอาคารสงฆ์ที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย เพราะระบบเข้าออกเป็นระบบไฟฟ้า ต้องใช้คีย์การ์ดเท่านั้นจึงจะเข้าออกได้ ส่วนอื่นๆภายในอาคารประกอบด้วย ห้องพักพระภิกษุสามเณร ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องควบคุมระบบไฟฟ้า และระบบโทรศัพท์ตู้สาขา ญาติโยมที่มาติดต่อกับพระภิกษุสามเณร จะมีห้องรับรองอยู่ชั้นล่างของอาคารฯ เป็นห้องที่จัดไว้อย่างสวยงามสะดวกสบาย พร้อมติดเครื่องปรับอากาศ ภายในห้องมีประวัติพระมงคลนาวาวุธ บิดา ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน และรายชื่อผู้ร่วมบริจาคในการก่อสร้าง
พิธีเปิดอาคารสงฆ์พระมงคลนาวาวุธ
ห้องรับแขกภายในอาคารสงฆ์พระมงคลนาวาวุธ
2.วัดถ้ำสิงโตทอง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
วัดถ้ำสิงโตทอง
อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
วัดถ้ำสิงโตทอง เดิมพระราชสังวราภิมณฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพมหานครได้เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2509 โดยใช้ชื่อว่า “ที่พักสงฆ์ถ้ำสิงโตทอง” เพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม
ต่อมาได้ดำเนินการขอ อนุญาตต่อกรมการศาสนา และได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างวัด เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2521 โดยนายวิรัช วงศาโรจน์ เป็น ผู้ขออนุญาตตั้งวัดต่อกรมศาสนา ได้รับการประกาศตั้งวัดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2527 โดยใช้ชื่อว่า “วัดเขาถ้ำสิงโต” ต่อมาทางวัดได้ขอเปลี่ยนชื่อวัดเป็นชื่อ “วัดถ้ำสิงโตทอง” ตามเดิม
ในปี พ.ศ. 2533 ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ ท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน ดำเนินการก่อสร้างอุโบสถ เป็นอุโบสถที่สร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ครบ 60 พรรษา (พ.ศ.2535) เป็นสถาปัตยกรรม พระราชนิยมสมัยรัชกาลที่ 3 เน้นความเรียบร้อย ง่ายแต่แข็งแรง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ภายในกรุด้วยไม้สัก เพื่อให้สะดวกแก่การดูแลรักษา โดยดัดแปลงจากแบบเดิมของหลวงปู่โต๊ะ ที่ท่านตั้งใจจะสร้างอุโบสถด้วยไม้ทั้งหลัง โดยให้เหตุผลว่า “จะสร้างให้คนรุ่นหลังดู ต่อไปจะหาไม้สร้างได้ยาก” ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ ท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน เป็นประธานดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ งบประมาณ 20,000,000 บาท (ยี่สิบล้านบาท) โดยถือคติไม่เบียดเบียนใคร และได้สร้าง พระพุทธปฎิมาประธาน ในอุโบสถ ได้รับพระราชทานนามว่า “พระพุทธสิริกิติพิพัฒน์” มีความหมายว่า “พระพุทธเจ้าซึ่งทรงไว้ด้วย สิริ และ เกียรติ” ซึ่งสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานเททอง เมื่อวันเสาร์ที่ 9 มีนาคม 2535 ตรงกับวันแรม 9 ค่ำ เดือน 4 ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ขนาดหน้าตักกว้าง 2.99 เมตร ฝีมือการออกแบบของ คุณไข่มุกด์ ชูโต ปฏิมากรแห่งราชสำนักฯ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธย “ส.ก.” ประดิษฐานที่หน้าบันอุโบสถ โดยมีพระราชกระแสรับสั่งว่า
“เป็นอุโบสถหลังแรกที่มีนามาภิไธย ของพระองค์ท่านประดิษฐานอยู่”
รูปหล่อหลวงปู่โต๊ะ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเททอง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน 2535 ตรงกับวันแรม 13 ค่ำ เดือน 5 ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ได้ทรงพระกรุณาชี้แนวเขตตั้งอุโบสถหลังนี้ด้วยพระองค์เอง และทรงเป็นประธานฝ่ายสงฆ์
ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ ท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน เป็นประธานฝ่ายฆราวาส
นับเป็นมหามงคลแก่วัดถ้ำสิงโตทอง อันเนื่องมาจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพระเศียรองค์พระประธาน พระพุทธสิริกิติพิพัฒน์ ทรงยกฉัตร ทรงตัดลูกนิมิต และทรงปลูกต้นสักทองบริเวณหน้าพระอุโบสถ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2535
หมู่กุฎิทรงไทย จำนวน 3 หลัง ฝากุฎิทำด้วยไม้ไผ่ผ่าวีกปะกบกัน หลังคามุมจากใช้สลักไม้ยึดทั้งหลังไม่ใช้ตะปู เพื่ออนุรักษ์ฝีมือช่างไทยโบราณ
นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ ท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน ยังได้สร้างเจดีย์แปดเหลี่ยม เพื่อประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่โต๊ะ และปรับปรุงบริเวณรอบเจดีย์ สระน้ำ ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ หญ้า เพื่อให้ดูสวยงาม งบประมาณ 15,000,000 บาท (สิบห้าล้านบาท)
ในปี พ.ศ.2536 สร้างอาคารสำนักงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดถ้ำสิงโตทอง สร้างห้องพักสามเณร จำนวน 20 ห้อง ศาลาเอนกประสงค์ งบประมาณ 1,500,000 บาท (หนึ่งล้านห้าแสนบาท)
ในปี 2552 เนื่องในโอกาสครบอายุ 75 ปี ได้สร้างหอสมุด “ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ ท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน” และบูรณะซ่อมแซมทาสีอุโบสถ เจดีย์ ซุ้มประตูกำแพงวัด สร้างต่อเติมอาคารเรียนหลังใหม่ จำนวน 6 ห้อง สิ้นงบประมาณ 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาท)
การที่วัดถ้ำสิงโตทอง มีอุโบสถ เสนาสนะ อาคารเรียน หอสมุด ที่สวยงามมั่นคงดังปรากฏในปัจจุบัน เพราะได้รับความอุปถัมภ์จากท่านศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ ท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน เป็นอย่างดี อาตมภาพในนามคณะศิษยานุศิษย์หลวงปู่โต๊ะ และในฐานะเจ้าอาวาส วัดถ้ำสิงโตทอง ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาที่ท่านได้ให้การอุปถัมภ์วัดถ้ำสิงโตทอง และโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดถ้ำสิงโตทอง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 มาจนถึงปัจจุบัน ขออ้างอิงถึงอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย และบารมีธรรมของพระเดชพระคุณหลวงปู่โต๊ะ จงมารวมกันเป็นตบะ เดชะ พลวปัจจัย ให้ท่านศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ ท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน และครอบครัวประสบความสุขความเจริญ ด้วยจตุรพิธพรชัย 4 ประการ คือ อายุ วรรณะ สุข พละ ปฏิภาณ ธนสารสมบัติทุกประการเทอญ
(พระครูสังฆรักษ์กุ้ยไฮ้ ชุตินฺธโร)
เจ้าอาวาสวัดถ้ำสิงโตทอง
23 กรกฎาคม 2552
3.วัดราชมณเฑียร นครเชียงใหม่ ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
วัดมณเฑียร เดิมชื่อว่า วัดราชมณเฑียร พระเจ้าติโลกราชและพระมหาเทวี ได้ทรงสร้างเมื่อปี พ.ศ. 1985
เพื่อถวายพระมหาญาณคัมภีร์พระเถระชาวเมืองเชียงใหม่ ที่นำพระพุทธศาสนามาประดิษฐานที่เมืองเชียงใหม่ ทุกหัวเมืองล้านนาจนเจริญรุ่งเรือง
ปัจจุบันวัดมณเฑียรได้ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ทางวัดจึงได้ทำการบูรณะพัฒนาให้เจริญรุ่งเรืองดั่งในอดีต จึงได้เริ่มโครงการพัฒนาเมื่อปี พ.ศ. 2543 ได้สร้างพระวิหารหลวงทรงไทยล้านนา 2 ชั้น เพื่อเป็นสถานที่บำเพ็ญบุญทางศาสนาจึงได้รับความอุปถัมภ์จากท่านศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ – ท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน ท่านเป็นทานบดีผู้มีจิตศรัทธาเล็งเห็นประโชน์แห่งพระศาสนาจึงได้ให้ความอุปถัมภ์เป็นเจ้าภาพในการก่อสร้าง ได้ถวายเงินในเบื้องต้นเป็นจำนวน 2,500,000 บาท (สองล้านห้าแสนบาท)
รับเป็นเจ้าภาพพระประธานวิหารสลักด้วยหินทรายทั้งองค์ เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปะล้านนาที่สวยงามให้นามว่า “พระพุทธราชมณเฑียร” และได้รับอุปถัมภ์ดำเนินการก่อสร้างวิหารจนแล้วเสร็จ
ได้ถวายทุนการศึกษาพระภิกษุ – สามเณรเป็นเงินเดือนละ 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาท)ทุกเดือน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2547 ได้ปวารณาไว้จะถวายตลอดไป
ได้เป็นประธานวางศิลาฤกษ์กุฏิสงฆ์ทรงไทยล้านนา ของวัดมณเฑียรและได้บริจาคเป็นทุนการก่อสร้างไว้เบื้องต้นเป็นเงิน 1,200,000 บาท (หนึ่งล้านสองแสนบาท) และได้มอบพระสมเด็จนางพญา สก. ทองคำหนักสองสลึง ให้กับผู้ร่วมบริจาคตั้งแต่ 20,000 บาท (สองหมื่นบาท) ขึ้นไป จำนวนกว่า 60 องค์ เพื่อเป็นทุนสนับสนุนการก่อสร้างจนกว่าจะแล้วเสร็จ
ทางวัดได้เห็นความอุสาหะวิริยะในศรัทธาของคุณโยมท่านทั้งสอง จึงขอประกาศขอบคุณและอนุโมทนาในกุศลเจตนาที่ให้ความอุปถัมภ์แก่วัดมณเฑียร นับว่าเป็นเกียรติวาสนาอันสูงสุดของวัดและพระศาสนาขอความสุขความเจริญจงมาบังเกิดแก่ท่านและครอบครัว ขอให้ชื่อเสียงเกียรติยศ ลาภยศสรรเสริญของท่านจงสถิตสถาพรตลอดกาลนาน
วัดราชมณเฑียร นครเชียงใหม่
กุฏิสงฆ์ มงคลนาวิน
พ.ศ.๒๕๔๓ อุปถัมป์เป็นเจ้าภาพในการก่อสร้าง กุฏิสงฆ์มงคลนาวิน เป็นอาคาร ๓ ชั้น
ทรงไทยล้านนา ซึ่งมีความจำเป็นในการสร้างเพราะที่พำนักสงฆ์(เดิม)มีสภาพเก่า
ทรุดโทรมและอยู่กันอย่างแออัด
4.วัดพระแท่นดงรัง วรวิหาร จังหวัดกาญจนบุรี
ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ – ท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวินได้รับเป็นผู้อุปถัมภ์สร้างพระสังกัจจายน์ หน้าตักกว้าง 8 เมตร สูง 12 เมตร เป็นเงิน 500,000 บาท (ห้าแสนบาท) และบูรณะพระวิหารจนแล้วเสร็จ และให้ชื่อ “พระพุฒมงคล” เป็นอนุสรณ์และเกียรติประวัติแด่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยวอุปเสโณ) วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร เป็นประธานพิธีเบิกพระเนตรพระสังกัจจายน์ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
5.วัดป่าเครือวัลย์ จังหวัดกาฬสินธ์
ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ – ท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน
สร้างวิหาร (อาคารเอนกประสงค์) ราคาค่าก่อสร้างประมาณ 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาท)
ในโอกาส ท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน อายุครบ 4 รอบ วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2538
6.วัดบ้านขมิ้น จังหวัดอุบลราชธานี