ห้องด้านขวา
พระเทพคุณาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร และคณะ ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศศรีลังกา มาประดิษฐานที่พิพิธภัณฑ์สักทอง เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒
หุ่นขี้ผึ้ง (ไฟเบอร์กลาส) พระอริยสงฆ์ไทย จำนวน ๑๙ รูป จัดเรียงตามสมณศักดิ์ อายุ และพรรษาที่อุปสมบท
พระบรมสารีริกธาตุ
ปรากฏการณ์พิเศษ
เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เจ้าหน้าที่คนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ได้กราบสักการพระบรมสารีริกธาตุ และได้สังเกตเห็นวัสดุลักษณะเป็นรังทำด้วยดินที่แมลงบางชนิดทำทิ้งไว้ จึงแจ้งให้เจ้าหน้าที่อาวุโสมาดูเพื่อจะได้จัดทำความสะอาด
ปรากฎว่าวัสดุที่พบไม่ใช่รังมดหรือแมลง แต่เป็นวัตถุที่เป็นก้อนเล็ก ๆ คล้ายก้อนกระจกขนาดต่าง ๆ กัน มีสีแดงคล้ำคล้ายสีทับทิม ลักษณะมีแสงคล้ายผลึกแก้ว จึงช่วยกันนำมานับหลายครั้ง มีจำนวน ๑๕๙ ชิ้น
วันอาทิตย์ที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ได้มาพิสูจน์วัสดุดังกล่าว และได้ตรวจนับแล้ว มีจำนวน ๑๕๙ ชิ้น ตรงกัน
ปรากฎการณ์ดังกล่าวไม่น่าจะเป็นการกระทำของผู้หนึ่งผู้ใด เพราะพิพิธภัณฑ์มีระบบการตรวจตราการเข้าออกอย่างเข้มงวด และไม่น่าจะมีใครคิดทำเอาวัสดุดังกล่าวมาเทกองวางไว้ข้างฐานองค์พระธาตุ
จึงสันนิษฐานได้ว่า คงเป็น “พระบรมสารีริกธาตุ” ซึ่งตามตำรา “พระบรมสารีริกธาตุ” นั้น สามารถเพิ่มหรือลดจำนวนได้เอง โดยสามารถเสด็จไปไหนมาไหนเองก็ได้ แม้ว่าจะเก็บไว้ในภาชนะที่ปิดสนิทดีสักเท่าไหร่ก็ตาม โดยเชื่อกันว่า หากไม่ดูแลรักษาเอาใจใส่ประดิษฐานไว้ในที่ไม่สมควร หรือขาดการถวายความเคารพแล้ว พระบรมสารีริกธาตุ อาจเสด็จจากสถานที่นั้น ๆ ก็เป็นได้ โดยทางตรงกันข้าม หากได้รับการปฏิบัติบูชาดี ผู้สักการบูชา มีกาย วาจา ใจ สะอาดบริสุทธิ์ อยู่ในศีลธรรม พระบรมสารีริกธาตุก็อาจเพิ่มจำนวนได้เช่นกัน
อนุโลม:
– จัดที่บูชาสะอาดเหมาะสม
– ตั้งพานมะลิบูชา
– นำน้ำสะอาดตั้งไว้ที่ด้านหน้าแท่นบูชา
– ชำระล้างร่างกายให้สะอาด
– ทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง มีสมาธิ
– สมาทานศีล
– ระลึกถึงพระพุทธคุณ
ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ
“อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทตังโสอิ อิโสตัง พุทธะ ปิติอิ”
(พระบรมสารีริกธาตุอาจเสด็จมาด้วยกันหลายวิธี เช่น เสด็จมาเอง, มีผู้มอบให้, แบ่งองค์ ฯลฯ)
เนื่องจากพระบรมสารีริกธาตุเดิม พระเทพคุณาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร เป็นผู้อัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา และนำมาประดิษฐานไว้ ณ พิพิธภัณฑ์สักทอง
การเสด็จมาของพระบรมสารีริกธาตุ ๑๕๙ องค์นี้ จึงเป็นผลมาจากบุญบารมีโดยแท้
จึงขอให้ท่านผู้มาสักการะได้รับผลบุญบารมีนี้ ประสพแต่ความสุข ความสงบ และความเจริญตลอดไป
โต๊ะหมู่บูชาลายดอกพุฒตาล (โต๊ะหมู่ ๙) ศิลปะสมัยรัชกาลที่ ๓ ของจังหวัดลำพูน
พระพุทธสิริกิตติพิพัฒน์ (จำลอง)
จากพระประธานวัดถ้ำสิงโตทอง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
“พระพุทธสิริกิตติพิพัฒน์” มีความหมายว่า “พระพุทธเจ้าซึ่งทรงไว้ด้วย สิริ และ เกียรติ” ซึ่งสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานเททอง
พระพุฒมงคล (หลวงพ่อโต)
ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ – ท่านผู้หญิง มณฑินี มงคลนาวิน
สร้างถวายประดิษฐานไว้ที่ วัดพระแท่นดงรัง อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
(พระสังกัจจายน์ ขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง ๘ เมตร สูง ๑๒ เมตร)
พระพุทธราชมณเฑียร (ทรงเครื่อง)
ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ – ท่านผู้หญิง มณฑินี มงคลนาวิน
สร้างเป็นพระพุทธปฏิมาประธาน ถวายในการบูรณะพระอาราม
และสร้างอาคารพระสงฆ์และสามเณร วัดราชมณเฑียร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
บรมครูแพทย์ ชีวกโกมาร์ภัจจ์
ประวัติ
หมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นบุตรของนางสาลวดี นครโสเภณีประจำเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ในสมัยนั้นตำแหน่งนี้มีเกียรติยศต่างจากในสมัยนี้ นางสาลวดีตั้งครรภ์โดยบังเอิญ เมื่อคลอดบุตรชายออกมา จึงสั่งให้สาวใช้นำไปทิ้ง แต่อภัยราชกุมาร พระราชโอรสของพระเจ้าอชาตศัตรูไปพบเข้า จึงนำมมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม
ชื่อ ชีวก ตั้งขึ้นตามคำกราบทูลตอบคำถามของพระองค์ที่ตรัสถามว่า เด็กยังมีชีวิตอยู่หรือเปล่า มหาดเล็กกราบทูลว่า ยังมีชีวิตอยู่ (ชีวโก) ส่วนคำว่า โกมารภัจจ์ แปลว่า กุมารที่ได้รับการเลี้ยงดู หรือ กุมารในราชสำนัก หมายถึง บุตรบุญธรรม นั่นเอง ฉะนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ จึงหมายถึง บุตรบุญธรรมที่ยังมีชีวิตอยู่ นั่นเอง
เมื่อเติบโตขึ้น ชีวก ถูกพวกเด็ก ๆ ในวังล้อเลียนว่า เจ้าลูกไม่มีพ่อ ด้วยความมานะ จึงหนีพระบิดาไปเรียนศิลปวิทยาที่เมืองตักสิลา เพื่อเอาชนะคำดูหมิ่น วิชาที่เลือกเรียนคือวิชาแพทย์ แต่เนื่องจากไม่มีค่าเล่าเรียน จึงอาสารับใช้พระอาจารย์ เมื่อเรียนอยู่ถึง ๗ ปี จึงลาอาจารย์กลับบ้านระหว่างทางอาจารย์ให้ไปหาต้นไม้ที่ทำยาไม่ได้ ให้เก็บตัวอย่างมาให้ดู ปรากฏว่า กลับมามือเปล่า เพราะต้นไม้ทุกต้นใช้ทำยาได้ อาจารย์บอกว่า เขาได้เรียนจบแล้ว จึงอนุญาตให้กลับได้
หลังจากกลับเมืองมาแล้ว ได้รักษาพระเจ้าพิมพิสารให้หายขาดจากภคันทลาพาธ (โรคริดสีดวงทวาร) และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหมอหลวง และได้รับพระราชทานสวนมะม่วง แต่ต่อมา หมอชีวกก็ได้ถวายสวนนี้ให้พระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย และได้ถวายตัวเป็นแพทย์ประจำพระองค์อีกด้วย ด้วยความที่เป็นคนบำเพ็ญแต่สิ่งที่ดีงาม ช่วยเหลือผู้เจ็บป่วย ไม่เลือกฐานะ จึงได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะ ในด้าน เป็นที่รักของปวงชน
ในวงการแพทย์แผนโบราณในปัจจุบันนี้ ถือว่าหมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็น บรมครูแห่งการแพทย์แผนโบราณ เป็นที่เคารพของประชาชนทั่วไป
ตาลปัตร
ผลงานการออกแบบของศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน และท่านผู้หญิง มณฑินี มงคลนาวิน เนื่องในโอกาสงานทำบุญวันคล้ายวันเกิดของทั้งสองท่าน
ตาลปัตรที่ระลึกในการฉลองวันพระราชทานนามสกุล “มงคลนาวิน” ครบหนึ่งร้อยปี ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗, บุณยประสพ ครบหนึ่งร้อยปี ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๖