พวงหรีด
พวงหรีดจะว่าไปก็คือ พวงมาลา ที่มักจะทำด้วยดอกไม้ และจะเป็นดอกไม้สด พวงหรีด ในงานศพถ้าเราไปซื้อหามา หรือสั่งทำ แค่วันสองวันดอกไม้ก็จะเหี่ยวเฉาและเน่าไปในที่สุด ก็ต้องทิ้งไปเหลือแต่แผ่นป้ายชื่อ เมื่อมีเหตุอย่างนี้แล้วก็ได้เคยให้ออกแบบให้เป็นสัญลักษณ์เป็นพวงหรีดที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองแต่ทำด้วยดอกไม้สด 2 วันก็เสียหายแล้ว ก็เลยมาดัดแปลงใหม่โดยใช้แบบที่เป็นเอกลักษณ์เลยก็คือใช้แบบที่เป็นหน้าหมวกทหารเรือ และโดยเฉพาะนามสกุลมงคลนาวินก็เป็นเอกลักษณ์ของทหารเรือ โดยจากเดิมที่ใช้ดอกไม้สดก็เปลี่ยนเป็นใช้วัสดุที่ไม่ใช่ดอกไม้มาทำเป็นดอกไม้ประดิษฐ์แล้วก็นิยมที่จะใช้สีทองหรือสีอะไรก็ตาม ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่เราให้ เป็นสิ่งที่ดีงาม เป็นสิ่งที่เป็นมงคล เป็นของสูงกับผู้ที่ล่วงลับไปแล้วและเป็นที่น่าสังเกตว่าที่ทำพวงหรีดให้อย่างนี้ เค้าสวดศพเจ็ดวันห้าสิบวันหรือร้อยวันถ้าเค้ายังไม่เผา พวงหรีดที่ให้ไปนั้นยังสามารถใช้งานได้ตลอดจนถึงวันที่จะฌาปนกิจศพหรือพระราชทานเพลิงศพ ศพของผู้ใหญ่จำนวนไม่น้อยที่วันพระราชทานเพลิงศพมีสวดพระอภิธรรมในเวลากลางคืนก่อนวันพระราชทานเพลิงศพก็จะมีหรีดเฉพาะของที่ให้ไว้ที่ไม่สูญสลายยังใช้ประดับอยู่ข้างหีบศพก็เป็นเรื่องที่คิดว่าเราคิดถูกแล้ว ทีนี้ถ้าถามว่าจะให้ใครเป็นผู้ทำพวงหรีดนี้ขึ้น ถ้าจะไปสั่งร้านนอกจากจะสิ้นเปลืองแล้วก็ต้องใช้เวลาก็เลยใช้วิธีแนะนำให้ครูของพีระยานุเคราะห์มูลนิธิซึ่งเราเป็นประธานมูลนิธิฯ ให้มีแผนกจัดทำพวงหรีดโดยเบิกค่าวัสดุไป เสร็จแล้วก็ทำตามแบบ พอเราต้องการจะใช้พวงหรีดขึ้นมาก็เพียงแค่โทรศัพท์สั่งเค้าก็สามารถที่จะเอาไปวางไว้ที่วัดที่กำหนดได้ โดยแต่ละเดือนก็ได้ใช้เป็นจำนวนมากก็เป็นการสะดวก ประหยัด มีความหมาย แล้วก็ทนทาน ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร อีกอันหนึ่งที่จะเห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ ที่ป้ายชื่อจะไม่มียศถาบรรดาศักดิ์ใดๆ เพราะถือว่าเป็นการให้ด้วยความเป็นกุศล เป็นส่วนตัว ด้วยความเคารพรัก เพราะฉะนั้นก็จะใช้ว่า อุกฤษ-มณฑินี มงคลนาวิน เฉยๆโดยไม่มีการใส่ตำแหน่งนั้นตำแหน่งนี้ อันนี้เป็นอีกอันที่เป็นเอกลักษณ์ บางคนนั้นเค้าจะใส่ชื่อตำแหน่งหรือสังกัด ส่วนเราถึงแม้ว่าเป็น ดร. หรือเป็นอดีตประธานรัฐสภา ก็จะไม่ใส่คำนำหน้านาม ไม่ว่าจะเป็นพวงหรีดที่ไปวางในงานศพที่เป็นผู้ใหญ่หรือผู้น้อยใดๆ ก็ตามก็ทำเหมือนกัน มาตรฐานเดียวกัน
- รายละเอียด อุปกรณ์ในการทำพวงหรีด
1. ไม้อัด. สำหรับทำโครง
2. ฟองน้ำ
3. ผ้า. สำหรับหุ้มฟองน้ำ
4. เชือกปอ สำหรับทำพื้น
5. ดอกไม้ปลอม
6. สเปรสำหรับพ่นดอกไม้. ตามสี
7. เข็มหมุดสำหรับเย็บดอกไม้
8. ปืนกาว สำหรับกาวร้อน
9. ป้ายพวงหรีด (ปริ๊นและสกรีน)
การออกแบบเหรียญ สก.สดุดี
การออกแบบเหรียญ สก.สดุดี เพื่อพระราชทานแก่ผู้บริจาคเงินสมทบทุนสร้างตึก สก.
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย
ประเภทของเหรียญ สก.สดุดี แบ่งออกเป็น 3 ชั้น
ชั้นที่หนึ่ง : เหรียญ สก.สดุดี ทองลงยา ประดับเพชรที่พระนามาภิไธยย่อ “สก.”และประดับเพชรล้อมรอบ
ชั้นที่สอง : เหรียญ สก.สดุดี ทองลงยา ประดับเพชรที่พระนามาภิไธยย่อ “สก.”
ชั้นท่ี่สาม : เหรียญ สก.สดุดี ทำด้วยโลหะกะไหล่ทอง
ประภาคาร
การออกแบบ “ประภาคารคีรีรมย์” ร่วมกับท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน เป็นถังเก็บน้ำใช้ซึ่งสูบน้ำบาดาล
มีความจุในถังน้ำซึ่งเป็นประภาคาร จำนวน 10,500 ลิตร ตั้งอยู่บนบ่อคอนกรีตความจุ 35,000 ลิตร
(ได้จดลิขสิทธิ์ประเภทงานสถาปัตยกรรม เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2552)
ตาลปัตร
เนื่องจากเป็นคนที่นิยมที่จะทำบุญเลี้ยงพระเนื่องในโอกาสสำคัญๆ อย่างเช่น วันคล้ายวันเกิด ก็นอกจากที่จะถวายจตุปัจจัยแล้ว มักจะถวายตาลปัตรและย่ามเป็นที่ระลึก แล้วก็ให้พระสงฆ์นำไปใช้ได้ ในตาลปัตรนั้นก็มักจะออกแบบให้เกี่ยวข้องกับงานในแต่ละครั้งที่จัดขึ้น อย่างเช่น งานวันเกิด ก็จะออกแบบเป็นรูปไก่ เพราะว่าเกิดปีระกา ส่วนลวดลาย ส่วนประกอบอื่นๆ ก็แล้วแต่ที่จะกำหนด ปีหนึ่งอาจจะเป็นไก่แบบหนึ่ง อีกปีหนึ่งอาจจะเป็นไก่อีกแบบหนึ่ง หรืออย่างของท่านผู้หญิง ท่านก็ออกแบบเองคือเป็นรูปหมู แล้วก็มีลวดลายต่างๆประดับ ดูแล้วเป็นเอกลักษณ์ แล้วก็พระที่รับไว้โดยส่วนใหญ่ก็มักจะเก็บไว้ พอถึงโอกาสที่เรามีงานทำบุญในปีถัดๆไป ท่านก็จะเอาตาลปัตรที่เราได้ถวายให้ไว้ นำออกมาใช้ ก็เป็นเรื่องน่าชื่นใจ อย่างล่าสุดวันครบรอบหนึ่งร้อยปีนามสกุลพระราชทานมงคลนาวิน ก็ออกแบบเป็นสัญลักษณ์ของมงคลนาวิน และคำว่ามงคลนาวินนั้น เป็นลายพระหัตถ์และมีพระปรมาภิไธยของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ พร้อมทั้งมีลวดลายอื่นๆประกอบ พอเวลาทำบุญเลี้ยงพระ ๒๐ กว่าองค์ ก็จะใช้ตาลปัตรที่ออกแบบนี้ทั้งหมด เรียงกันเป็นแถว ซึ่งก็เป็นที่ระลึกเพราะถ่ายรูปเอาไว้ก็งดงามดี อีกประการหนึ่งก็คือในเวลาที่มีงานทำบุญที่บ้าน ในเรื่องการใช้ตาลปัตรก็จะบอกทุกครั้งว่าไม่ต้องเอาตาลปัตรมา เพราะเรามีตาลปัตรที่ได้จัดทำขึ้นนี้สำรองไว้แล้ว เช่น เลี้ยงพระ ๕ รูปก็มีตาลปัตร เลี้ยงพระ ๙ รูปก็มีตาลปัตร เพราะฉะนั้นท่านก็ไม่ต้องเอามาให้เป็นภาระ ดังนั้นเวลานิมนต์พระก็จะบอกว่าไม่ต้องนำตาลปัตรมาอย่างนี้เป็นต้น คือส่วนใหญ่จะทำอะไรที่ไม่ค่อยมีใครเหมือนและก็ไม่เหมือนใคร
ตาลปัตรที่ระลึกในการทำบุญ อายุ ๘๐ ปี
ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน
พัดรองที่ระลึกในการบำเพ็ญกุศล
ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เจ้าอยู่หัว
ย่าม