ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน
1. สมาชิก
– สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
16 ธันวาคม 2515 – 11 ธันวาคม 2516 (รัฐสภาชุดที่ 13)
– สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดที่ 2
23 ธันวาคม 2516- 26 มกราคม 2518 (รัฐสภาชุดที่ 14)
– สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
20 พฤศจิกายน 2519 – 20 ตุลาคม 2520 (รัฐสภาชุดที่ 18)
– สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
15 พฤศจิกายน 2520 – 22 เมษายน 2522 (รัฐสภาชุดที่ 19)
– วุฒิสภา
22 เมษายน 2526 – 22 เมษายน 2532 (รัฐสภาชุดที่ 21-23)
– สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
15 มีนาคม 2534 – 21 มีนาคม 2535 (รัฐสภาชุดที่ 24)
– วุฒิสภา
22 มีนาคม 2535 – 26 พฤษภาคม 2535 (รัฐสภาชุดที่ 25)
2. การดำรงตำแหน่งประธาน รองประธาน
– รองประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน คนที่ 1 – รองประธานรัฐสภา
28 พฤศจิกายน 2519 – 20 ตุลาคม 2520 (รัฐสภาชุดที่ 18)
– รองประธานรัฐสภา คนที่ 1 – รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1
26 เมษายน 2526 – 30 มีนาคม 2527 (รัฐสภาชุดที่ 21)
– ประธานรัฐสภา – ประธานวุฒิสภา
30 เมษายน 2527 – 30 เมษายน 2528 (รัฐสภาชุดที่ 21)
– ประธานรัฐสภา – ประธานวุฒิสภา
1 พฤษภาคม 2528 – 23 เมษายน 2530 (รัฐสภาชุดที่ 21)
– ประธานรัฐสภา – ประธานวุฒิสภา
28 เมษายน 2530 – 21 เมษายน 2532 (รัฐสภาชุดที่ 22-23)
– ประธานรัฐสภา – ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
2 เมษายน 2534 – 21 มีนาคม 2535 (รัฐสภาชุดที่ 24)
– ประธานรัฐสภา – ประธานวุฒิสภา
3 เมษายน 2535 – 26 พฤษภาคม 2535 (รัฐสภาชุดที่ 25)
3. การดำรงตำแหน่งในคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ
– คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ชุดที่ 10 (พ.ศ. 2526)
แทนนายจารุบุตร เรืองสุวรรณ (เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2527)
– คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ชุดที่ 11 (พ.ศ.2529)
ประกาศ ณ วันที่ 3 กันยายน 2529
– คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ชุดที่ 12 (พ.ศ.2531)
ประกาศ ณ วันที่ 30 สิงหาคม 2531
– คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ชุดที่ 13 (พ.ศ.2535)
ประกาศ ณ วันที่ 6 พฤษภาคม 2535
(ดำรงตำแหน่งถึงวันที่ 26 พฤษภาคม 2535)
4. ผลงานด้านการต่างประเทศ
– 24 ธันวาคม 2519 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานคณะกรรมการบริหารหน่วยประจำชาติไทยในสหภาพสมาชิกรัฐสภาเอเชีย (Asian Inter-Parliamentarians Union. A.P.U.)
– 24 ธันวาคม 2519 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานหน่วยรัฐสภาไทย (Inter-Parliamentary Union: I.P.U.)
– 30 มกราคม – 5 กุมภาพันธ์ 2520 และ 6-9 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไปประชุมสมัชชาใหญ่ ครั้งที่ 12 ของสหภาพสมาชิกรัฐสภาเอเชีย (A.P.U.) ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 30 มกราคม ถึงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2520
– 7-16 เมษายน 2520 เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไปประชุมคณะมนตรี สหภาพรัฐสภา (I.P.U.) ครั้งที่ 120 และประชุมคณะกรรมาธิการประจำของสหภาพรัฐสภา ระหว่างวันที่ 7-16 เมษายน 2520
– 28 สิงหาคม – 2 กันยายน 2520 ไปร่วมการประชุมองค์การรัฐสภาอาเซียน (ASEAN Inter-Parliamentary Organization : AIPO) ครั้งที่ 3
ปี 2527
– เจ้าภาพจัดการประชุมขององค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ ในประเทศไทย
การประชุมขององค์การรัฐสภาอาเซียน
– 6-9 กุมภาพันธ์ 2527 จัดประชุมคณะกรรมาธิการปฏิบัติงานองค์การรัฐสภาอาเซียน ณ จังหวัดภูเก็ต
– 9-10 กุมภาพันธ์ 2527 จัดประชุมสนทนาระหว่างองค์การรัฐสภาอาเซียนและรัฐสภายุโรป ณ จังหวัดภูเก็ต
– 2-6 ตุลาคม 2527 จัดประชุมสมัชชาองค์การรัฐสภาอาเซียน ณ กรุงเทพฯ
การไปเยือนต่างประเทศ จำนวน 3 ครั้ง ดังนี้
30 กรกฎาคม 2527 – 4 สิงหาคม 2527 สหพันธรัฐรัสเซีย
4-8 สิงหาคม 2527 สาธารณรัฐโปแลนด์
พฤศจิกายน 2527 สาธารณรัฐไต้หวัน
ปี 2528
– การรับรองแขกชาวต่างประเทศเข้าเยี่ยมคารวะ จำนวน 45 คณะ
– การประชุมขององค์การรัฐสภาอาเซียน
11-12 เมษายน 2528 เข้าร่วมประชุมองค์การรัฐสภาอาเซียนเพื่อส่งมอบตำแหน่งประธานองค์การรัฐสภาอาเซียนให้กับประธานรัฐสภาสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
– การประชุมขององค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ ที่จัดขึ้นในประเทศไทย
การประชุมของสหภาพรัฐสภา
– 18-21 กุมภาพันธ์ 2528 การประชุมสหภาพรัฐสภา ว่าด้วยเรื่องการอนามัยและการพัฒนาในภูมิภาพเอเชียและแปซิฟิค ณ กรุงเทพฯ
การประชุมของสมาชิกรัฐสภาอาเซียนด้านประชากร
– 4-8 พฤศจิกายน 2528 การประชุมของสมาชิกรัฐสภาอาเซียนด้านประชากร ทรัพยากรและการพัฒนา ครั้งที่ 5 ณ กรุงเทพฯ
การไปเยือนต่างประเทศ จำนวน 5 ครั้ง ดังนี้
3-7 เมษายน 2528 สาธารณรัฐอินเดีย
10-12 เมษายน 2528 สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
2-8 สิงหาคม 2528 สาธารณรัฐประชาชนจีน
25-29 สิงหาคม 2528 สาธารณรัฐเกาหลี
4-20 พฤศจิกายน 2528 สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี อิสราเอล สาธารณรัฐอิตาลี
ปี 2529
– การรับรองแขกชาวต่างประเทศเข้าเยี่ยมคารวะ จำนวน 51 คณะ
ปี 2530
– เจ้าภาพจัดการประชุมองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ ในประเทศไทย
การประชุมของสหภาพรัฐสภา
12-17 ตุลาคม 2530 การประชุมสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 78
ปี 2531
– การรับรองแขกชาวต่างประเทศเข้าเยี่ยมคารวะ จำนวน 43 คณะ
– การไปเยือนต่างประเทศ จำนวน 2 ครั้ง ดังนี้
6-12 กันยายน 2531 สาธารณรัฐประชาชนเกาหลีเหนือ
12-20 กันยายน 2531 สาธารณรัฐประชาชนจีน
ผลงานด้านการต่างประเทศ
– ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานหน่วยประจำชาติไทยในองค์การรัฐสภา อาเซียน
– ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานองค์การรัฐสภาอาเซียน
– การรับรองแขกชาวต่างประเทศเข้าเยี่ยมคารวะ จำนวน 28 คณะ
– การรับรองแขกคณะผู้แทนรัฐสภาจากต่างประเทศ จำนวน 2 คณะ
– เจ้าภาพจัดการประชุมขององค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ ในประเทศไทย
การประชุมของสหภาพรัฐสภา
– 28 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2531 การประชุมสหภาพรัฐสภา ว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาค เอเชียและแปซิฟิค
การประชุมของสมาชิกรัฐสภาอาเซียน
– 18-23 พฤศจิกายน 2534 การประชุมคณะกรรมาธิการปฏิบัติงานและการประชุมสมัชชาใหญ่องค์การรัฐสภาอาเซียน ครั้งที่ 12
5. ผลงานด้านอื่น ๆ
– โครงการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสมีพระชนมายุครบ 5 รอบ การปรับปรุงพระที่นั่งอนันตสมาคม
– ประธานดำเนินการโครงการก่อสร้างตึก ส.ก.โรงพยาบาลจุฬาฯ
– โครงการปรับปรุงอาคารสถานที่สำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและบริเวณ
– การพัฒนาข้าราชการและปรับปรุงส่วนราชการในสังกัดรัฐสภา
– การจัดการด้านสวัสดิการของข้าราชการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา
– โครงการเผยแพร่ความรู้ด้านรัฐสภา
6. ผลงานด้านสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา
ในขณะที่ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา ท่านได้ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาในขณะนั้นด้วย ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 ท่านได้ร่วมทำงานใกล้ชิดกับข้าราชการ และห่วงใยดูแลข้าราชการเป็นการเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้ข้าราชการ นำความก้าวหน้าให้แก่สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา จึงขอนำมากล่าวเฉพาะเรื่องสำคัญ
1. มีดำริให้ก่อสร้างอาคารเพื่อใช้เป็นห้องประชุมคณะกรรมาธิการ และที่ทำงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยจัดห้องให้แต่ละพรรคการเมือง คือ อาคารรัฐสภา 2 ซึ่งปัจจุบันได้ใช้เป็นอาคารสำนักงานเลขาธิการ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการของวุฒิสภา ห้องทำงานประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาและห้องประชุมคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร
2. จัดให้มีห้องรับรองนายกรัฐมนตรี ด้านหลังห้องประชุมรัฐสภา ชั้น 2 อาคารรัฐสภา 2 ซึ่งได้ใช้มาจนถึงปัจจุบัน
3. ภาพวาดรูปประธานรัฐสภา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่ติดตั้งไว้รอบห้องประชุมรัฐสภาก็เป็นดำริของท่าน
4. เนื่องจากสมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่อย่างคร่ำเคร่งและเหน็ดเหนื่อยในการประชุมสภา ท่านจึงห่วงใยสุขภาพของผู้แทนปวงชนทั้งหลาย จึงดำริให้จัดห้องพยาบาลในวันประชุมรัฐสภา วันประชุมสภาผู้แทนราษฎร และวันประชุมวุฒิสภา จะมีแพทย์และพยาบาลมาประจำที่ห้องพยาบาล
5. ท่านได้ให้โอกาสและได้เห็นความสามารถของผู้หญิง จึงได้แต่งตั้งผู้หญิงเป็นเลขาธิการรัฐสภาคนแรกในสมัยของท่านคือ นางสาวบังอร อิ่มโอชา
6. เนื่องจาก ฯพณฯ ประธานรัฐสภา เคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะนิติศาสตร์ จึงเห็นความสำคัญของเจตนารมณ์ หรือความเป็นมาของกฎหมาย จึงดำริให้จัดทำหนังสือนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นหนังสือทางวิชาการที่ได้รวบรวมความเป็นมา ประเด็นการอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา คณะกรรมาธิการ ตลอดจนคำชี้แจงของรัฐบาล ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและการปฏิบัติราชการ
7. ได้ดำริให้จัดตั้งสถานีวิทยุรัฐสภา (87.5 เมกะเฮิร์ทซ์) ปัจจุบันเป็นที่รู้จักสนใจของประชาชนที่จะรับฟังรายการที่ได้ความรู้และข่าวสารการเมือง
8. ได้ริเริ่มการสร้างอาคารที่พักอาศัยของข้าราชการรัฐสภา (แฟลตข้าราชการรัฐสภา) เพื่อช่วยเหลือข้าราชการชั้นผู้น้อยและลูกจ้างได้รับอนุญาตให้ใช้ที่ดินเพื่อการก่อสร้างและได้เจรจากับการเคหะแห่งชาติให้ก่อสร้างอาคารในช่วงเวลาที่ท่านยังดำรงตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
9. ได้สร้างศาลพระสยามเทวาธิราช พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง ขึ้นภายในบริเวณรัฐสภา เพื่อสักการบูชา นำความเป็นสิริมงคลและความร่มเย็นเป็นสุขมาสู่ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และผู้ที่มาปฏิบัติงานในรัฐสภาทุกคน
10. เรื่องที่สำคัญที่สุดของพวกเราข้าราชการรัฐสภาสามัญคือ เมื่อปีพุทธศักราช 2534 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ได้มีการปรับปรุงกฎหมายของส่วนราชการในสังกัดรัฐสภาให้มีความเหมาะสมและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติในสมัยนั้น ได้มีนโยบายที่จะจัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการบริหารราชการ โดยให้คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาพิจารณาปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและข้าราชการฝ่ายรัฐสภาให้เหมาะสม
ในปีพุทธศักราช 2535 สภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา ได้มีมติเห็นชอบพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2535 ให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ สาระสำคัญประการหนึ่งของกฎหมายทั้งสองฉบับคือ ให้มีส่วนราชการสังกัดรัฐสภาอันได้แก่ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ส่วนราชการเหล่านี้มีฐานะเทียบเท่ากรมและเป็นนิติบุคคล
จากดำริของ ฯพณฯ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติในครั้งนั้น ส่งผลให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญมีความเจริญก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน เกิดขวัญและกำลังใจการปฏิบัติราชการเป็นประโยชน์ต่อข้าราชการของวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร
7. ผลงานด้านอื่น ๆ
1. จะขอนำเรื่องที่ ฯพณฯ ประธานรัฐสภา ได้มีดำริและมุ่งมั่นที่จะดำเนินการให้สำเร็จดังที่ได้ตั้งปณิธานไว้คือ การปรับปรุงองค์พระที่นั่งอนันตสมาคม เนื่องจากได้เห็นความสำคัญของพระที่นั่งอนันตสมาคมที่มีเหตุการณ์สำคัญ ๆ ทางประวัติศาสตร์เกิดขึ้นมากมายนับแต่พุทธศักราช 2475 เป็นต้นมา พระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นต้นมา พระที่นั่งอนันตสมาคมได้ทำหน้าที่เป็นรัฐสภาของชาติถึงแม้จะได้มีอาคารรัฐสภาและห้องประชุมรัฐสภาแล้วก็ตาม ทุกคราวที่มีรัฐสภาสมัยประชุมของรัฐสภา การพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี รัฐสภาก็ได้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นสถานที่จัดงานพระราชพิธีและรัฐพิธีตลอดมา
ในช่วงเวลาที่ ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา ในปีพุทธศักราช 2529 ได้มีดำริให้สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ดำเนินการซ่อมแซมอนุรักษ์ จิตกรรมฝาผนัง และลวดลายปูนปั้นปิดทองต่อเนื่องจากโครงการปรับปรุงพระที่นั่งอนันตสมาคมที่ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2520 จนเสร็จสมบูรณ์ ภายในองค์พระที่นั่งจึงดูงดงามประจักษ์แก่สายตาของทุกคน
เมื่อจิตรกรรมฝาผนังและลวดลายปูนปั้นปิดทองได้รับการซ่อมแซมงดงามแล้ว แต่การเดินสายไฟฟ้าบนผนัง ภายในองค์พระที่นั่งอนันตสมาคมยังคงเป็นการเดินสายแบบเกาะผนังรัดด้วยเข็มขัดรัดสาย ทำให้ไม่สวยงาม ฯพณฯ ประธานรัฐสภาได้ดำริให้มีการเปลี่ยนแปลงการเดินสายไฟฟ้าภายในพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นแบบฝังในผนังและเพดาน โดยให้อนุรักษ์สภาพแวดล้อมของภาพจิตรกรรม และลวดลายปูนปั้นภายในพระที่นั่งอนันตสมาคมให้คงเดิมมากที่สุด
นอกจากความงดงามของจิตรกรรมฝาผนังและลวดลายปูนปั้นของพระที่นั่งอนันตสมาคมแล้ว ผู้ที่ได้ชมคงจะได้เห็นพระวิสูตรที่ติดตั้งไว้ที่ทวารทั้ง 3 ชั้นบนพระที่นั่ง ซึ่งก็เป็นดำริของ ฯพณฯ ประธานรัฐสภาเช่นกัน พระวิสูตรที่สร้างขึ้นใหม่นี้ ได้ลอกเลียนแบบทั้งลวดลายสีสันของผ้าและเส้นไหม ตลอดจนวัสดุต่าง ๆ จากพระวิสูตรของเดิมซึ่งมาจากประเทศอิตาลี โดยมุ่งหวังให้เหมือนเดิมทุกประการ และเมื่อนำมาติดตั้งจึงดูงดงามไม่ผิดเพี้ยนไปจากของเดิมเลย
นอกจากนี้ ได้อันเชิญพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ประดับไว้ในห้องรับรองแขกต่างประเทศ โดยด้านทิศใต้พระที่นั่งอนันตสมาคม มีการปรับปรุงห้องสรงชั้นบนของพระที่นั่งเพื่อให้ใช้การได้และดูสวยงาม ตลอดจนดำริให้สร้างชุดรับแขกให้สวยงามเหมาะสมกลมกลืนกับสถาปัตยกรรมของพระที่นั่งอนันตสมาคม
ในส่วนของสนามรอบองค์พระที่นั่งอนันตสมาคมได้รับการฟื้นฟูและปรับปรุงให้สวยงาม ฯพณฯ ได้ดำริย้ายดอกบัวประชาธิปไตย ซึ่งได้รื้อออกจากอาคารรัฐสภา เมื่อครั้งก่อสร้างพระราชานุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปสร้างไว้บริเวณด้านทิศเหนือขององค์พระที่นั่งอนันตสมาคม
เมื่อครั้น ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ได้ดำรงตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติในปีพุทธศักราช 2534 ได้มีดำริให้สำนักงานเลขาธิการรัฐสภาติดตั้งระบบปรับอากาศ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เพื่อรวมในการเฉลิมฉลองวาระที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ มีพระชนมายุครบ 5 รอบและระบบปรับอากาศดังกล่าวยังคงใช้งานมาจนถึงวันนี้
2. ฯพณฯ ประธานรัฐสภา ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานดำเนินการโครงการก่อสร้าง ตึก สก.โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยให้มีการจัดเลี้ยงรับรองผู้ที่มีจิตศรัทธา เพื่อสมทบทุนก่อสร้าง ตึก ส.ก. ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม
8. การส่งมอบของขวัญต่าง ๆ
ในส่วนที่เกี่ยวกับของขวัญต่าง ๆ ที่ได้รับจากต่างประเทศในการเยือนประเทศต่าง ๆ และของขวัญที่ได้รับจากบรรดาฝ่ายนิติบัญญัติ หรือฝ่ายบริหารที่มอบให้ท่านในโอกาสพาเยี่ยมคารวะ รวมทั้งของขวัญจากบรรดาทูตานุทูตต่าง ๆ ท่านได้ให้เลขาธิการรัฐสภาเก็บทำหนังสือส่งมอบรักษาไว้เป็นสมบัติของรัฐสภาทุกชิ้นไม่เกิน 3 วันนับจากวันที่ได้รับมอบ
เสด็จพระราชดำเนิน ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ครั้งที่ 1
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เสวยพระกระยาหารค่ำ และโปรดฯให้ผู้บริจาคเงินเพื่อสร้างตึก สก.เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2535
เสด็จพระราชดำเนิน ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ครั้งที่ 2
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ไปพระราชทานเหรียญ สก.สดุดี แก่ผู้บริจาคเพื่อสร้างตึก สก. ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ.2537
ห้องรับรองนายกรัฐมนตรี
คุณบังอร อิ่มโอชา เลขาธิการรัฐสภา (ระดับ 11)
การแต่งตั้งเลขาธิการรัฐสภา เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะมีความสำคัญและมีผู้ต้องการรับตำแหน่งนี้มาก โดยส่วนใหญ่ต้องการให้ผู้ชายดำรงตำแหน่งนี้ อาจด้วยความคิดที่ว่า “ผู้หญิงจะทำไม่ได้” แต่โดยส่วนตัวผมมีความเห็นว่า “เมื่อผู้หญิงเป็นรองเลขาธิการรัฐสภาได้และทำงานได้ผลเป็นอย่างดีจึงไม่น่าจะมีปัญญาในการดำรงตำแหน่งนี้” ซึ่งผมมีหลักการในการสนับสนุนสิทธิสตรี จึงเห็นควรแต่งตั้ง นางสาวบังอร อิ่มโอชา เป็นเลขาธิการรัฐสภา ถือว่าเป็นผู้หญิงคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้รับตำแหน่งนี้
ศาลพระสยามเทวาธิราช (บริเวณอาคารรัฐสภา)
พระพุทธรูป ๒๕ พุทธศตวรรษ
บ่อปลาคาร์ฟ
เรื่องของการเลี้ยงปลาคาร์ฟที่บ่อน้ำอาคารรัฐสภา เรื่องนี้มีที่มาจากการที่บ่อน้ำบริเวณตึกรัฐสภาออกแบบไว้ให้เป็นบ่อรองรับน้ำฝนจากหลังคาอาคารรัฐสภา ทำให้บ่อน้ำมีความสกปรกต้องถ่ายเทน้ำออกและขัดทำความสะอาดเป็นระยะๆ ซึ่งในขณะที่ทำการถ่ายเทน้ำออกทำให้ดูแล้วไม่สวยงามและมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการค่อนข้างสูงเพราะต้องใช้คนงานเป็นจำนวนมาก จึงได้แก้ปัญหาโดยให้ทางบริษัทซาฟารีเวิลด์ นำระบบกรองและระบายน้ำมาติดตั้งโดยใช้เงินประมาณหนึ่งล้านกว่าบาทและบริจาคปลาคาร์ฟที่สวยงามมาให้เป็นส่วนประกอบทำให้น้ำสะอาดโดยไม่ต้องสูบถ่ายน้ำออกทุกครั้งทำให้ไม่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาดฟุ่มเฟือย
หนังสือพระที่นั่งอนันตสมาคม