วัตถุประสงค์
1. ให้เป็นอาคารที่จะเป็นถาวรวัตถุสำคัญ เฉลิมฉลองวโรกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ องค์สภานายิกา สภากาชาดไทย
2. ให้เป็นอาคารเคียงคู่กับ “ตึก ภปร.”โดยขอพระราชทานนามว่า “ตึก สก.”
3. ให้เป็นอาคารที่มีขนาดและความสูงใกล้เคียงกับ “ตึก ภปร.”(ตึก ภปร.สูง ๒๔ ชั้น ตึก สก.สูง ๒๓ ชั้น (รวมชั้นจอดรถ))
4. ให้เป็นอาคารกุมารเวชกรรมที่สมบูรณ์แบบและทันสมัย แทนอาคารเวชกรรมเดิม ประกอบด้วยห้องต่างๆ ๒๗๕ ห้อง มีเตียงผู้ป่วยประมาณ ๔๐๐ เตียง
5. ให้พื้นที่อาคารส่วนหนึ่งเป็นที่ตั้ง “ศูนย์รักษาโรคหัวใจ”โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
6. ให้เป็นอาคารที่สร้างโดยแรงศรัทธาของข้าราชบริพารและบรรดาพสกนิกรโดยไม่ใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน หรือ งบประมาณสภากาชาดไทย
เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และ เป็นการสร้างมิติใหม่ในการเฉลิมพระเกียรติอย่างแท้จริง โครงการฯจึงกำหนดวิธีการดำเนินการหาทุนไว้ดังต่อไปนี้:
6.1 ไม่ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน
6.2 ไม่มีการออกสลากรางวัล
6.3 ไม่มีการจัดงานขายบัตรการกุศล
6.4 ไม่เชิญผู้มีอิทธิพลทางการเมืองหรือทางทหาร ซึ่งอาจให้คุณหรือโทษในทางธุรกิจของผู้บริจาค เข้ามาเป็นกรรมการ
6.5 ไม่มีการเบียดเบียนผู้บริจาค
ความรับผิดชอบในด้านการเงินของโครงการก่อสร้าง ตึก สก.
เนื่องด้วยศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ประธานดำเนินการ โครงการก่อสร้างตึก สก. ได้แสดงเจตนาไว้อย่างแรงกล้าว่า ตึก สก.เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ประธานดำเนินการฯ จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดตามที่ประมาณการไว้เดิมไม่เกิน 750,000,000 บาท (เป็นเงินจากผู้มีจิตศรัทธาบริจาคร่วมกับเงินบริจาคส่วนตัว) แต่เนื่องจากค่าใช้จ่ายทั้งหมดสูงถึง 432 ล้านบาทเศษ ทำให้สภากาชาดไทยได้แสดงเจตนาขอเข้ามีส่วนร่วมสำหรับค่าใช้จ่ายในโครงการนี้โดยรับภาระค่าเครื่องมือแพทย์เป็นเงินประมาณ 217 ล้านบาทเศษ ส่วนประธานดำเนินการฯรับภาระในส่วนอื่น ๆ เป็นเงิน 964 ล้านบาทเศษ ซึ่งเงินจำนวนนี้เป็นเงินจากผู้มีจิตศรัทธาบริจาค พร้อมทั้งดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์เป็นเงินประมาณ 850 ล้านบาท เป็นเงินบริจาคส่วนตัวของศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ – ท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน ประมาณ 110 ล้านบาทเศษ โดยที่บัดนี้ โครงการก่อสร้างตึก สก.ได้ชำระเงินให้แก่ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ผู้ก่อสร้างตึก สก.เสร็จเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2540
การจัดหาเงินสนับสนุนโครงการก่อสร้างตึก สก.โดยมูลนิธิตึก สก.
โดยที่ประธานดำเนินการโครงการก่อสร้าง ตึก สก. ได้พิจารณาเห็นว่า สิ่งก่อสร้างของทางราชการ เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้ว มักไม่มีงบประมาณในการบำรุงรักษา ซ่อมแซม และพัฒนาอาคาร อุปกรณ์การแพทย์ ฯลฯ จึงได้จัดตั้งมูลนิธิขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยได้ขอพระราชทานพระราชานุญาต สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ อัญเชิญชื่อ “ตึก สก.โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์” เป็นชื่อมูลนิธิ โดยมีวัตถุประสงค์สำหรับจัดเตรียมกองทุนจำนวนหนึ่ง เพื่อใช้บำรุงรักษา ซ่อมแซมและพัฒนาอาคาร อุปกรณ์การแพทย์ของ ตึก สก. และเพื่อใช้เป็นทุนการศึกษาแก่นักศึกษาแพทย์และพยาบาลของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ในสาขากุมารเวชศาสตร์ และสาขาโรคหัวใจ ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราชานุญาต เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2535 และได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2536 จึงได้เริ่มจดทะเบียนเป็น “มูลนิธิ” และเริ่มรับบริจาคเงินในปี พ.ศ. 2538
Objectives
1. To serve as a permanent building to celebrate HM Queen Sirikiti (the Chairwoman of the Thai Red Cross Society)’s 60th Birthday.
2. To serve as a coupleof buildings with HM King Bhumibol Building as it is granted royal permission to us the name HM Queen Sirikiti Building.
3. The Building is designed to have the similar size and height to HM King Bhumibol Building (HM King Bhumibol Building has 24 storeys, while HM Queen Sirikiti Building has 23 storeys (including its parking).
4. To serve as a modernand full-sphere pediatrics building in replacement of the old building. It consists of 275 Rooms with 400 patient beds.
5. One part of the Building to serve as the cardiology center of King Chulalongkorn Memorial Hospital.
6. To be the building that is constructed with the fund donated by people instead of the national budget or the budget of the Thai Red Cross Society, that is the true ways to exalt the reputations of Their Majesties. The Construction Project of HM Queen Sirikiti Building is, therefore, set up its fund raising ways as follows:
6.1 Not to use the national budget.
6.2 Not to sell lotteries to raise the fund.
6.3 Not to organize any fairs to sell tickets.
6.4 Its executive committee shall not comprise any politicians nor military officers who may positively or negatively have commercial influence to donators.
6.5 It shall not disturb the donators.
The responsibility for the fund of the Construction Project of HM Queen Sirikiti Building
Prof.Dr.Ukrit Mongkolnavin the President of the Executive Committee of the Construction Project of HM Queen sirikiti Building expresses his strong intention that he will be responsible for all expenses as originally assessed of not exceeding 750,000,000 Baht (It is the joint donations by people and his personal donation).However, because the total expenses are very high of approximately 432 million Baht, the Thai Red Cross Society then requests to jointly bear the responsibility for medical equipment of approximately 217 million Baht, while the President of the Executive Committee of the Construction Project of HM Queen Sirikiti Building bears responsibility for other expenses of 964 million Baht which come from the donations of people with interest as for the savings of 850 million Baht, while the personal donation of Prof.Dr.Ukrit and Thanpuying Montinee Mongkolnavin is of approximately 110 million Baht. The construction cost was fully paid to Italian-Thai Development Plc.,the constructor of the Building , on January 16, 1997.
To raise contributions to the Construction Project of HM Queen sirikiti Building
As the President of the Executive Committee of the Construction Project of HM Queen Sirikiti Building considers that mostly the government buildings after completely constructed, there are no budgets for maintenance, repair and development of the building and medical equipment, he then funds a foundation to solve such problems by requesting the royal permission to use HM Queen Sirikiti Building under the Royal Patronage as the name of the foundation, with the objectives to raise the fund for maintenance, repair and development of the building and medical equipment as well as for scholarships for medical students and nurses of King Chulalongkorn Memorial Hospital, the Thai Red Cross Society, in the fields of pediatrics and cardiology. HM the Queen kindly grants such permission on September 29, 1992 and the Foundation is permitted by the National Cultural Commission on December 18, 1993, when the Foundation is registered and begins to receive donations in 195.