พระอัจฉริยภาพทางกฎหมายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โดย
ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน
พระอัจฉริยภาพทางกฎหมายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรากฏอยู่ชัดเจนในคำประกาศราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ในโอกาสที่สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีมติเป็นเอกฉันท์ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญานิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พุทธศักราช 2530 ซึ่งมีข้อความ ที่ควรจะนำมาแสดงให้ปรากฏไว้อีกครั้งหนึ่ง ณ ที่นี้
“จำเดิมแต่สมัยที่แรกเสด็จขึ้นผ่านพิภพปกเกล้าปกกระหม่อมทวยนิกรชาวไทย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงใฝ่พระราชหฤทัยในการศึกษาวิชากฎหมายและการปกครองมาตั้งแต่ต้น ด้วยจักมีผลเป็นคุณประโยชน์แก่พระราชภาระในวันข้างหน้าได้ทรงพระราชอุตสาหะวิริยะศึกษาวิชานิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยโลซานน์ ทรงพระปรีชาเชี่ยวชาญในวิชากฎหมายอย่างบริบูรณ์มิได้บกพร่อง ตามครรลองนัยวิธีเนติศึกษาในอารยประเทศได้ทอดพระเนตรเห็นความเป็นไปตามาวิถีทางแห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญในนานาชาติ เป็นเหตุให้เพิ่มพูนพระวุฒิปรีชาสามารถในพระราชกรณียกิจให้ยิ่งยงครั้นเมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับมาดำรงฉัตรเป็นร่มเศียรชาวไทยในกรุงสยาม ก็ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกิจตามนัยแห่งบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมิได้เคลื่อนคลาด ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในฐานะพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยทรงใช้อำนาจสูงสุดในการปกครองทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาล ได้พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยและพระราชกระแสแนะนำอันเป็นประโยชน์ยิ่งแก่ประเพณีการปกครองของบ้านเมืองบรรดารัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติทุกเรื่อง ตลอดจนพระราชกำหนดพระราชกฤษฎีกาก็ได้อาศัยพระมหากรุณาธิคุณตราขึ้นไว้เป็นหลักยุติธรรมของแผ่นดินกระทรวงศาลทั้งสิ้นต่างก็ได้พิพากษาในพระปรมาภิไธยครั้นเมื่อคดีวินิจฉัยถึงที่สุดแล้ว ก็ยังทรงเป็นประหนึ่งดวงแก้วตามคติโบราณอันมีมาในประเทศนี้ คือ เป็นพระผู้ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะพระราชทานอภัยโทษโปรดให้คนโทษได้ลดหย่อนผ่อนพ้นทัณฑกรรม ด้วยอำนาจแห่งพระมหากรุณาทรงพระปรีชาสองส่องฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษทุกเรื่องด้วยพระองค์เองอย่างละเอียดถี่ถ้วน ทรงทบทวนไตร่ตรองข้อความจริงทั้งปวงด้วยพระอัจฉริยภาพและความที่ทรงมั่นในพรหมวิหารธรรมมิได้ทรงลำเอียงหวั่นไหวด้วยอำนาจแห่งคติในข้อใดๆ ทรงอธิษฐานพระราชหฤทัยแต่ที่จะอำนวยความยุติธรรมเป็นมั่นคงไม่คลอนแคลน ทรงเป็นเสมือนหนึ่งแก่นของโลกยุติธรรม อันจักธำรงอยู่ตราบฟ้าและดิน
นอกจากพระราชจรรยาทั้งสิ้นที่ได้แสดงข้างต้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชฯ ยังทรงพระมหากรุณาเป็นพิเศษแก่วงการกฎหมายของชาติ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเหยียบศาลแพ่งและศาลอาญาสำหรับพระนคร เพื่อทรงเน้นความสำคัญของกระบวนการยุติธรรมให้เห็นประจักษ์แจ้ง ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดที่ทำการศาลหลายแห่งตามคำกราบบังคมทูลอัญเชิญทุกครั้งที่มีโอกาสได้ประทับบัลลังก์ประภาษคดีความโดยหลักกฎหมายและยุติธรรมอันเป็นสัตย์พระมหาการุณยภาพปรากฏชัดแก่ผู้ที่ได้พึ่งพระบรมโพธิสมภารจำนวนมาก ต่างก็ออกปากแซ่ซ้องชื่นชมพระบารมีปรีชาชาญทางฝ่ายกฎหมายกันอยู่โดยทั่วไปทรงเป็นเนติบัณฑิตกิตติมศักดิ์แห่งเนติบัณฑิตยสภาในพระบรมราชูปถัมภ์ ด้วยพระราชประสงค์ที่จะหนุนนำวิชาชีพกฎหมายให้รุ่งเรืองเฟื่องฟู ทรงพระมหากรุณาเชิดชูเกียรติของนักกฎหมายให้ปรากฏแผ่ไกล โดยเสด็จพระราชดำเนินไปในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสำนักศึกษาอบรมกฎหมายของเนติบัณฑิตยสภามิได้ขาด แม้ในวงการกฎหมายระดับนานาชาติก็ได้ทรงประกาศเกียรติไทยให้กำจาย ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดการประชุมนักกฎหมายนานาชาติเป็นหลายครั้งหลายคราว พระราชดำรัสที่พระราชทานในที่ประชุมนั้นมีเรื่องราว สาระที่ควรคิดในทางนิติปรัชญา พระราชกฤดาภินิหารขจรกำจายไปในสากลประเทศ
แต่ที่นับว่าเป็นเหตุอันควรอัศจรรย์ และเป็นผลแห่งพระปรีชาสามารถใหญ่หลวงก็คือ พระราชดำรัสและพระบรมราโชวาททั้งปวงที่พระราชทานแก่นักกฎหมายหรือวงการที่เกี่ยวข้องในวาระโอกาสต่างๆ ได้ทรงเป็นต้นแบบที่ดำริสร้างแนวปรัชญากฎหมายที่เหมาะสำหรับสังคมไทย ทรงย้ำเตือนไว้ในหลายแห่งว่า กฎหมายนั้นเป็นแต่เพียงเครื่องมือเสาะแสวงหาความยุติธรรม แต่กฎหมายทั้งปวงจะธำรงความถูกต้องเที่ยงตรงเปี่ยมประสิทธิภาพได้ขึ้นอยู่กับการใช้กฎหมายให้ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้นๆเป็นสำคัญ นักกฎหมายจึงต้องมีเจตนาอันสุจริตปราศจากอคติไม่บริสุทธิ์ต่างๆ และที่สำคัญยิ่งคือทรงแนะแนวทางอันควรดำเนินสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านนิติศาสตร์ว่าพึงต้องมีบทบาทถือเป็นภารกิจในการเผยแพร่วิทยาความรู้ทางกฎหมายสำหรับประชาชน เพื่อเป็นเบื้องต้นของความสงบเรียบร้อยร่มเย็นตลอดทั่วทั้งพระราชอาณาเขต พระราชดำริเหล่านี้กระจ่างชัดปราศจากเลศนัยอันพึงสงสัย หากแต่เป็นผลสุดท้ายจากพระบรมราชวิจารณญาณอันลุ่มลึกส่องสอบดูถี่ถ้วนทุกประการ พระบรมราโชวาทที่พระราชทานทุกครั้งสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวมีเอกภาพเพราะได้ทรงหยั่งทราบความเป็นไปในสังคมไทยโดยถี่ถ้วนประมวลกับพระปรีชาญาณด้านนิติศาสตร์จึงได้พระราชทานปรัชญาฝ่ายกฎหมายอันเหมาะสมแก่สภาพการณ์ที่เป็นจริง และที่นับว่าเป็นมหามหัศจรรย์ยิ่งก็คือ ในเวลาที่พระราชทานพระราชกระแสเหล่านี้สมัยแรกๆพระราชดำริเช่นนั้นเป็นของแปลกที่ไม่เคยมีผู้ใดริเริ่มดำเนินการมาก่อนเช่น การเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายสำหรับราษฎรเป็นต้น ครั้นเหตุการณ์ผ่านพ้นไปร่วมยี่สิบปีมาในบัดนี้ก็ปรากฏชัดแล้วว่านักกฎหมายทั่วหน้าต่างเห็นพ้องด้วยกับพระบรมราชบริหาร ต่างได้มีโครงการปฏิบัติตามแนวพระราชดำริอยู่ทั่วไป ทั้งในฝ่ายหน่วยงานของรัฐและเอกชน ที่นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเหลือล้นแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็คือ ในสมัยแรกเริ่มที่พระราชทานแนวคิดเชิงปรัชญาเช่นนี้ได้มีพระเมตตาธิคุณพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่คณาจารย์และนิสิตที่ศึกษาในทางด้านนิติศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นหลายครั้ง และได้เป็นจุดเริ่มของความคิดที่จะก่อตั้งศูนย์แนะนำกฎหมาย อันได้ดำเนินการอยู่ในบัดนี้ เดชะพระปรีชาบารมีบันดาลให้เกิดการพัฒนาอย่างสำคัญในวงการวิชาชีพกฎหมายโดยทั่วไป”
ในส่วนตัวของข้าพเจ้าเอง ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้เข้าเฝ้าฯและพระราชทานพระราชดำรัสในเรื่องของกฎหมายหลายครั้ง ตั้งแต่พุทธศักราช 2512 ในฐานะอาจารย์และในฐานะคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ได้นำนิสิตเข้าเฝ้าฯในโอกาสต่างๆซึ่งพระราชดำรัสทุกครั้งได้ปรากฏอยู่ในประมวลพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาททุกครั้ง ซึ่งข้าพเจ้าจะได้หยิบยกพระอัจฉริยภาพทางกฎหมายของพระองค์ท่านมากล่าวถึงเฉพาะในบางเรื่อง ที่ข้าพเจ้าได้รับพระราชทานโดยตรงเท่านั้น เพราะยังมีพระราชดำรัสที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายโดยตรงอีกมาก ซึ่งพระราชทานแก่คณะบุคคลอื่นๆ ดังปรากฏอยู่ในประมวลพระราชดำรัส และพระบรมราโชวาท ตั้งแต่พุทธศักราช 2493 เป็นต้นมา
นอกจากนั้น ในส่วนที่ได้มีโอกาสรับพระราชทานพระราชดำรัสเกี่ยวกับกฎหมาย พร้อมทั้งพระราชวิจารณ์โดยลึกซึ้งซึ่งพระราชทานแก่ข้าพเจ้าในฐานะประธานรัฐสภา และในฐานะที่นำร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯทูลเกล้าฯถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และในโอกาสอื่นๆซึ่งไม่ได้บันทึกพระสุรเสียงและไม่ได้ขอพระราชทานเผยแพร่นั้น ข้าพเจ้าไม่สามารถหยิบยกนำมากล่าว ณ ที่นี้ได้ แม้ว่าพระราชดำรัสในโอกาสต่างๆนั้น ได้แสดงถึงพระอัจฉริยภาพทางกฎหมายอย่างสูงยิ่งของพระองค์ท่าน ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณนี้จะขอเทิดทูนไว้เหนือเกล้าฯตลอดไป
ในที่นี้ข้าพเจ้าขออัญเชิญพระราชดำรัสบางเรื่องมาแสดงให้ปรากฏไว้ดังต่อไปนี้ :
1.พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะกรรมการจัดงานวัน “นิติศาสตร์จุฬาฯ” ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม 2512 โดยพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายอุกฤษ มงคลนาวิน อาจารย์ที่ปรึกษาแผนกวิชานิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำคณะกรรมการจัดงานวัน “นิติศาสตร์จุฬาฯ” จำนวน 40 คน เฝ้าฯทูลเกล้าฯถวายเงินซึ่งเป็นรายได้ส่วนหนึ่งในการอภิปรายหัวข้อ “ความมั่นคงของชาติ” ผู้ร่วมอภิปรายได้แก่ประมุขของสามอำนาจได้แก่ จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี พ.อ.นายวรการ บัญชา ประธานรัฐสภา และ ดร.ประกอบ หุตะสิงห์ ประธานศาลฏีกา โดย มี ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการถ่ายทอดสดการอภิปรายเป็นครั้งแรก เมื่อ 10 มกราคม 2512 เพื่อพระราชทานเป็นทุนการศึกษาแก่บุตร-ธิดาของผู้เสียชีวิตในการปราบปรามผู้ก่อการร้าย ซึ่งสรุปเป็นหัวข้อต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้
กฎหมายกับความเป็นจริง
กฎหมายกับความเป็นอยู่ที่เป็นจริงอาจขัดกัน และในกฎหมายก็มีช่องโหว่มิใช่น้อย เพราะเราปรับปรุงกฎหมายและการปกครองอย่างโดยอาศัยหลักการของต่างประเทศ โดยมิได้คำนึงถึงความเป็นอยู่ของประชาชนว่าในที่ใดเป็นอย่างไร ร้ายกว่านั้นก็ไม่คำนึงถึงว่าการปกครองของทางราชการบางทีไปไม่ถึงประชาชนด้วยซ้ำ จึงทำให้ประชาชนต้องตั้งกฎหมายของตนเองซึ่งไม่ได้หมายความว่าเลวเป็นแต่มีบางสิ่งบางอย่างขัดกับกฎหมายของทางบ้านเมือง เช่น อย่างทางแถวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เมื่อปีสองปีมานี้มีเจ้าหน้าที่เข้าไปในหมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งชาวบ้านเป็นผู้ที่อพยพย้ายมาจากจังหวัดนครศรีธรรมราช มาตั้งหมู่บ้านอยู่ใกล้ขอบป่าสงวนคือ เรียกว่าล้ำเข้าไปในป่าสงวนบ้าง คนเหล่านั้นเข้ามาทำมาหากินและอยู่กันด้วยความเรียบร้อยหมายความว่าได้มีการปกครองหมู่บ้านของตนเอง ไม่มีโจรไม่มีผู้ร้าย มีการทำมาหากินที่เรียบร้อย ขาดแต่อย่างเดียวคือนายอำเภอหรือเจ้าหน้าที่ก็จะเป็นประชาธิปไตย ซึ่งแท้จริงเขาเป็นประชาธิปไตยยิ่งกว่าที่จะเอานายอำเภอมาปกครองเขาเสียอีก แต่ว่าเมื่อขาดนายอำเภอหรือเจ้าหน้าที่ เขาก็เลยไม่เป็นประชาธิปไตยและปรากฏว่าเขากลายเป็นผู้ร้ายจวนๆจะเป็นผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์
เราไม่ได้ปรารถนาเลยที่จะให้มีผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย แต่เราก็สร้างขึ้นมาเองโดยไปชี้หน้าชาวบ้านที่เขาปกครองตัวเองดีแล้วเรียบร้อยแล้ว เป็นประชาธิปไตยอย่างดีอย่างชอบแล้ว ว่าบุกรุกเข้าอยู่ในป่าสงวน และขับไล่ให้เขาย้ายออกไป คนเหล่านั้นเขาทำการงานเข้มแข็ง ทำงานดีตลอดเวลาหลายปีมาแล้วจากนครศรีธรรมราช ไม่เคยทำลายป่า แต่บังเอิญกฎหมายบอกว่าป่าสงวนนั้นใครบุกรุกไม่ได้ เขาจึงเดือดร้อน ป่าสงวนนั้นเราขีดเส้นบนแผนที่ เจ้าหน้าที่จะไปถึงได้หรือไม่ได้ก็ช่าง และส่วนมากก็ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ไม่ได้ไป ดังนั้นราษฎรจะทราบได้อย่างไรว่าที่ที่เขาเข้ามาอาศัยอยู่เป็นป่าสงวน และเมื่อเราถือว่าเขาเป็นชาวบ้าน ก็ไปกดหัวเขาว่าเขาต้องทราบกฎหมาย แต่กฎหมายอย่างนี้เป็นแต่เพียงขีดเส้นทับเขาไม่ใช่กฎหมายแท้ ที่เป็นกฎหมายก็เพราะพระราชบัญญัติป่าสงวนเป็นกฎหมาย ซึ่งจะให้เขาทราบเองเป็นไปไม่ได้ เพราะทางฝ่ายปกครองเองไม่ได้นำเอากฎหมายนั้นไปแจ้งแก่เขา สมัยโบราณจะให้ทราบเรื่องอันใดเขาต้องตีกลอง มาสมัยผู้ใหญ่ลีก็ยังตีกลอง แต่วันนี้ไม่มีผู้ใหญ่ลีจะตีกลองประกาศด้วยปากหน่อยเดียวก็เหมือนยังไม่มีกฎหมาย จึงไม่ใช่เรื่องที่จะไปว่าเขาว่าไม่ทราบกฎหมาย ประชาชนย่อมทราบ แต่ว่าการปกครองไม่ดี และโดยประการนี้จึงทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่กฎหมายเพราะต่างคนต่างมีผิดมีถูกด้วยกันอยู่ ทางกฎหมายก็ว่ามีกฎหมายแล้วก็มีอำนาจหน้าที่ ทางประชนก็ว่าการเข้ามาทำกินเป็นกฎหมาย ที่นี้เมื่อขัดกันก็เกิดความเดือดร้อนทั้งสองฝ่าย จึงเป็นหน้าที่ของผู้รู้กฎหมายที่จะต้องไปทำความเข้าใจ ไม่ใช่ไปกดขี่ให้ใช้กฎหมายโดยเข้มงวด แต่ไปทำให้ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าเราอยู่ร่วมประเทศเดียวกัน ต้องอยู่ด้วยกันด้วยความอะลุ้มอล่วยไม่ใช่กดขี่ซึ่งกันและกัน
กฎหมายมีไว้สำหรับให้มีช่องโหว่ในทางปฏิบัติ
เมื่อไม่กี่วันมานี้ไปที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปพูดถึงคำ “พอสมควร” ว่าเป็นหัวใจของประชาธิปไตย อธิบายวาคนเรามีสิทธิเสรีภาพ แต่ถ้าใช้สิทธิเสรีภาพของแต่ละคนเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์เชื่อว่าจะต้องไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของคนอื่นด้วย คนเราจึงมีสิทธิเสรีภาพเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ไม่ได้ต้องมี “พอสมควร” เสรีภาพต้องมีจำกัดจะว่าไม่จำกัดไม่ได้ในสังคมหรือในประเทศ เสรีภาพของแต่ละคนจะต้องถูกจำกัดด้วยเสรีภาพของผู้อื่น จึงเห็นได้ว่า “พอสมควร” เป็นสิ่งสำคัญ
สำหรับนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ “พอสมควร” ก็เป็นสิ่งสำคัญถ้าเราจะปกครองหรือจะช่วยให้บ้านเมืองมีขื่อแป เราจะปฏิบัติตรงตามกฎหมายทั้งหมดไม่ได้ เพราะถ้าเราดูกฎหมายอย่างเช่น เมื่อวานนี้ได้ดูกฎหมายการพิมพ์ มาตรา ๓๖ ที่ว่า เมื่อมีการโฆษณาในหนังสือพิมพ์ซึ่งเจ้าพนักงานการพิมพ์เห็นว่าอาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนเป็นต้น เจ้าพนักงานการพิมพ์มีอำนาจเรียกตัวผู้โฆษณามาตักเตือนสั่งให้เสนอเรื่องที่จะพิมพ์ให้ตรวจก่อนหรือกระทำอย่างอื่นต่อไปอีกจนถึงลงโทษจำคุก ทั้งนี้ แล้วแต่จะตีความว่าฝ่าฝืนกฎหมายหรือไม่เพียงไร ดังนี้เราจึงเห็นว่า เจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ที่ตราขึ้นเพื่อให้การพิมพ์ข้อความต่างๆเป็นไปโดยเรียบร้อยไม่เบียดเบียนศีลธรรมของประชาชน ไม่เบียดเบียนความมั่นคงของประเทศนั้น เมื่อนำมาปฏิบัติย่อมขึ้นอยู่กับการตีความทั้งสิ้น
ความยืดหยุ่น(การใช้หลักรัฐศาสตร์)
ในด้านการปกครองนั้นก็สำคัญที่จะใช้หลักกฎหมายข้อนี้จะต้องใช้คำที่ไม่ค่อยดี คือ “ความยืดหยุ่น” ต้องขอให้พิจารณาคำนี้ให้รอบคอบสักหน่อย ได้เห็นมามากเหมือนกันว่าถ้าปกครองด้วยหลักที่แข็งแกร่งแล้ว แม้ว่าจะสุจริตเท่าไรทุกสิ่งทุกอย่างก็พังหมด จึงต้องมีความยืดหยุ่น คือ ยืดหยุ่นในทางที่ดีเพราะความยืดหยุ่นนี้ถ้าใช้ในทางที่ดีก็ดี แต่ถ้าใช้ในทางยืดหยุ่นตามใจตัวก็อาจกลายเป็นทุจริตไป จึงใช้ลำบากยิ่งนัก ยิ่งตัวมีความกดดันต่างๆอยู่ ก็จะเป็นความทุจริตไปได้ง่ายๆ เมื่อสามวันมานี้ไปจังหวัดน่านได้เห็นความลำบากในการปกครองเพราะที่จังหวัดน่านการคมนาคมยังไม่สะดวก ท้องที่บางส่วนเจ้าหน้าที่เข้าไปไม่ถึง อย่างอำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอปัว ซี่งเต็มไปด้วยภูเขา เวลาที่บินผ่านไปที่หุบเขาข้างล่าง ก็กำลังมีการปะทะกันอย่างรุนแรงระหว่างตำรวจพลร่มจากค่ายนเรศวรและตำรวจจากบ้านด่านกับผู้รุกรานที่เขาเรียกว่าผู้ก่อการแม้ว ซึ่งรุกเข้ามาจากทางด้านเหนือในเขตประเทศลาวใกล้แม่น้ำงึม หมายความว่า แถวนั้นพวกที่มาจากต่างประเทศซึ่งไม่ได้มาด้วยความเป็นมิตร แต่เข้ามารุกรานนั้นเดินเข้าเดินออกได้ง่ายๆอย่างสบาย กฎหมายของประชาชนที่อยู่แถบนั้นจะถือกฎหมายไทยได้อย่างไร เพราะเจ้าหน้าที่ของเราไม่กล้าไป ไปอยู่ก็โดนตีโดนยิง โดยยิงก็ไม่ใช่ยิงด้วยปืนลูกซอง แต่เป็นปืนกล ปืนครก รวมทั้งปืนที่ร้ายแรงต่างๆอย่างที่ใช้ในสงคราม เมื่อเจ้าหน้าที่ของเราไม่สามารถเข้าไปถึงเช่นนั้นจะมีการปกครองได้อย่างไร จะเรียกว่าเป็นป่าสงวนได้อย่างไร ดูจะไม่มีทางและก็พวกแม้วหรือพวกชาวเขาที่นั่น เราจะให้เขาทำตามกฎหมายของไทยเราได้อย่างไร เป็นปัญหาอยู่
ประชาธิปไตยโดยแท้ตามจุดประสงค์ ตามหัวใจของประชาชนทั่วไป ไม่ใช่ตามตัวหนังสือ
ข้าพเจ้าได้กราบบังคมทูลเรื่องการจัดตั้ง “ศูนย์แนะนำกฎหมายสำหรับประชาชน” ขึ้นที่แผนกวิชานิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการโดยอาจารย์และนิสิต เพื่อให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน ได้พระราชทานพระราชดำรัสในเรื่องนี้ว่า
“ขอให้ทุกคนเรียนให้สำเร็จแล้วมาพิจารณาว่าต่อไปควรจะทำอะไรอย่างไร แต่หลักใหญ่ที่ได้ทำกันมาแล้วจนถึงวันนี้ก็คือรวมกลุ่มกันขึ้นมา แล้วจัดให้มีงานโดยมีอาจารย์ที่หวังดีที่เข้าใจกันมาช่วยจัดงานสร้างศูนย์ ศูนย์กลางที่จะช่วยให้ประชาชนได้รับความสะดวกที่ดี ในการติดต่อกับประชาชนก็ขอให้เป็นการช่วยส่วนตัว และเมื่อพูดถึงหน้าที่ของตนก็ไม่ใช่ในทางรับหน้าที่ราชการ เพราะหนาที่ราชการจะต้องไปสังกัดโน่นสังกัดนี่ มีผู้บังคับบัญชา มีผู้อยู่เหนือหัว แล้วต่อไปก็มีผู้ที่อยู่ใต้ตัว ขอให้พูดในฐานะที่เป็นนักศึกษา ในฐานะที่ตัวเป็นคนไทยที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว ช่วยกันให้ความรู้แก่ผู้ที่มีความรู้น้อยกว่า ให้ความสะดวกเพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุขกันได้ ซึ่งจะเป็นการดีมาก และต่อไปก็จะต้องใช้สิ่งนี้รักษาสิ่งนี้ไว้เท่าที่จะทำได้ เพื่อที่บ้านเมืองของเราอยู่ด้วยการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยโดยแท้ตามจุดประสงค์ ตามหัวใจของประชาชนทั่วไป ไม่ใช่ตามตัวหนังสือ”
2.พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะกรรมการจัดงาน “วันรพี” ณ พระตำหนัดจิตลดารโหฐาน วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม 2513 โดยพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายอุกฤษ มงคลนาวิน อาจารย์ที่ปรึกษานิสิตแผนกวิชาการนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำคณะกรรมการจัดงาน “วันรพี” และนิสิตแผนกวิชานิติศาสตร์ จำนวน 47 คน เข้าเฝ้าฯทูลเกล้าฯถวายเงินรายได้จากการแสดงละครทางโทรทัศน์ เรื่อง “สายเสียแล้ว” ณ สถานีไทยโทรทัศน์ โดยเสด็จพระราชกุศลพระราชทานเป็นทุนการศึกษาแก่บุตร-ธิดาของผู้เสียชีวิตในการปราบปรามผู้ก่อการร้าย ซึ่งการแสดงละครทางโทรทัศน์ในโอกาสดังกล่าวนั้น ได้เน้นปัญหาเยาวชนที่ขาดความอบอุ่นจากบิดา-มารดา ตกอยู่ในสภาพที่เรียกว่า “บ้านแตก” ในที่สุดได้ประกอบอาชญากรรมขึ้น เป็นการสะท้อนถึงปัญหาสังคมไทย ซึ่งได้พระราชทานพระราชดำรัสไว้ดังต่อไปนี้
ปัญหาเยาวชนต้องร่วมกันแก้ไข
การที่ทางนิติศาสตร์ได้จัดละครขึ้นในครั้งนั้น ก็เป็นสิ่งที่น่าชมเชยอย่างยิ่ง เพราะว่ากฎหมายนี้ต้องให้ประชาชนทราบถึงกลไกและความเป็นมาโดยตลอด ทั้งให้ได้เห็นว่ามีประโยชน์อย่างไรโดยเฉพาะที่ได้แสดง ก็ได้แสดงถึงความเป็นอยู่ในบ้านเมืองปัจจุบัน ในสังคมปัจจุบันซึ่งทุกคนมีความห่วงใยว่ามีปัญหาเกิดขึ้น ที่เรียกว่าปัญหาเยาวชน หมายความว่าเยาวชนขาดความรู้และขาดที่เรียนก็เกิดทำตัวเป็นอันธพาล ตั้งกันเป็นแก๊งและได้ทำสิ่งที่ไม่เหมาะไม่สมมากขึ้นทุกที การที่มีปัญหาเยาวชนนี้ไม่ใช่เรื่องของเจ้าหน้าที่ทางรัฐบาล หรือของทางการตำรวจที่จะปราบปรามเท่านั้นเอง เป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะพยายามหาทางป้องกันและแก้ไข ตามที่เห็นอยู่และตามที่สังเกตมีปัญหาเยาวชนที่เกิดขึ้นนี้สาเหตุว่า เพราะเยาวชนเห็นว่าการทำมาหากินอย่างสุจริตนั้นมีความลำบากยากเข็ญ ต้องเหน็ดเหนื่อย ต้องมีความรู้ และต้องมีความอดทน การทำมาหากินในทางทุจริต คือ ในการตั้งกันเป็นแก๊งโจรง่ายกว่า แล้วก็มีตัวอย่างตามข่าวหนังสือพิมพ์ ตามโทรทัศน์และภาพยนตร์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการหากินในทางเป็นผู้ร้ายก็อาจสะดวกเหมือนกัน แล้วก็มีวิธีการที่ง่ายๆ แต่ว่าถ้าเยาวชนเหล่านั้นมีความรู้ และทราบถึงอันตราย ทราบว่ามีการคุ้มครองบ้านเมือง มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายปราบปรามและมีการตัดสินในโรงศาล ที่จะทำให้เข้าใจถึงอันตรายของอาชีพเหล่านั้น ก็จะทำให้ประชาชนมีกำลังใจมากขึ้นที่จะขวนขวายหาความรู้ด้วยตนเองและมีความพยายามในทางดีมากขึ้น งานที่ได้จัดขึ้นจึงเป็นงานที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง
การช่วยกันให้ความรู้แก่เยาวชน
ขอตั้งข้อสังเกตว่า ประชาชนเพิ่มขึ้นมากก็หมายความว่า มีเด็กเกิดขึ้นมาก จะทำให้เกิดภาระบ้านเมืองที่จะหาที่เรียนหาที่สอนเยาวชนเหล่านั้นมากขึ้นทุกที ทางบ้านเมืองเราจะสร้างโรงเรียนและผลิตครูให้มากให้เหมาะกับจำนวนของเยาวชนที่เพิ่มขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่ยาก ต้องหาวิธีอื่นที่จะแก้ปัญหานี้ วิธีอื่นก็มีอยู่ที่ว่า ผู้ที่มีอายุมากกว่าและมีคุณวุฒิทางความรู้มากกว่าทุกคน ควรที่จะเอาใจใส่ในปัญหานี้คือ แม้ตัวจะไม่ได้เป็นครูหรือเป็นผู้มีอาชีพมีหน้าที่โดยตรงในการให้การศึกษา ก็สมควร ที่จะเอาใจใส่ในการให้ความรู้แก่ผู้อื่นผู้ที่เยาว์กว่าหรือผู้ที่เยาว์กว่าในคุณวุฒิ นักศึกษาซึ่งบางคนก็นับว่ายังเป็นเยาวชนอยู่เพราะอายุยังไม่มากนักก็เกิดมีหน้าที่ขึ้น แต่เพราะว่ามีอายุและมีคุณวุฒิมากกว่าประชาชนจำนวนมาก ก็เกิดเป็นหน้าที่ขึ้นมาที่จะต้องพยายามสอน ที่จะชี้แจงให้ผู้ที่เยาว์กว่าในอายุและวุฒิให้ทราบ และให้สามารถที่จะประกอบการงานอาชีพเพื่อประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตัว โดยไม่เบียดเบียนบ้านเมืองและต่อส่วนรวมก็ขอให้ทุกคนได้นึกว่าเมื่อได้เข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะเข้ามาเรียนในด้านกฎหมาย ก็มีหน้าที่อันใหญ่ที่จะต้องทำตั้งแต่บัดนี้ มิใช่ว่าสำเร็จการศึกษาไปแล้วจึงจะไปทำโดยที่อาชีพการงานของท่านต่อไปจะเกี่ยวข้องกับกฎหมาย ซึ่งในบัดนี้ได้เล่าเรียนมาพอสมควรแล้ว ก็ควรจะได้เริ่มทำประโยชน์ได้ต่อส่วนรวมบ้าง ถ้าทำดังนี้ก็นับว่า แต่ละคนได้ทำประโยชน์ตามฐานะของตัวและประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างยิ่ง ที่จะได้ป้องกันบ้านเมืองมิให้เกิดความยุ่งยากวุ่นวาย ที่มีความยุ่งยากวุ่นวายก็มีมากพอแล้ว เราต้องพยายามที่จะระงับไป อย่างที่เอาเงินมาให้สำหรับช่วยผู้ที่ปฏิบัติงานป้องกันบ้านเมืองก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ว่าถ้าผู้ที่ป้องกันบ้านเมืองตามชายแดนต้องเสียชีวิตหรือต้องบาดเจ็บทุพพลภาพมีความทุกข์ยากอย่างใหญ่หลวงเหล่านั้นได้ป้องกันประเทศสำเร็จแล้วแต่ประเทศข้างในมีความเน่าเฟะ ก็จะทำให้การเสียสละเสียเปล่าไม่มีประโยชน์เลยน่าเสียดายทั้งชีวิตคนทั้งสิ่งของ ทั้งเงินทอง ทั้งกำลังที่ได้ทุ่มเทไว้ เราทุกคนจึงมีหน้าที่ที่จะรักษาความเรียบร้อยในบ้านเมืองตามกำลังที่มีอยู่
3.พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะกรรมการจัดงาน “วันรพี” ณ พระตำหนักจิตลดารโหฐาน วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ 2514 โดยพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายอุกฤษ มงคลนาวิน อาจารย์ที่ปรึกษานิสิตแผนกวิชานิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดงาน “วันรพี” นำคณะกรรมการและนิสิตแผนกวิชานิติศาสตร์ จำนวน 65 คน เข้าเฝ้าฯทูลเกล้าฯถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลสมทบมูลนิธิอานันทมหิดล สาขานิตศาสตร์ และนำคณะผู้จัดทำหนังสือปัญหากฎหมายสำหรับประชาชน เฝ้าฯทูลเกล้าฯถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลซึ่งได้พระราชทานพระราชดำรัสไว้ดังต่อไปนี้
บ้านเมืองที่มีระเบียบเรียบร้อยและมีกฎเกณฑ์ต้องทำตามกฎหมาย
การที่สนใจในด้านกฎหมายเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับบ้านเมือง เพราะว่าบ้านเมืองที่มีระเบียบเรียบร้อยและมีกฎเกณฑ์ต้องทำตามกฎหมายในสมัยนี้เราเห็นได้ว่าทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นเวลาที่กฎหมายรู้สึกว่าอ่อนแอลงมาก เพราะว่าความยุ่งยากเพิ่มขึ้นมาทุกวัน ปัญหาว่าทำไมกฎหมายแทนที่จะเจริญขึ้นกลับเสื่อมตามหลังไปในโลกนี้ ก็จะต้องดูว่ามีเหตุผลอะไร เหตุผลอันหนึ่งก็คือ จำนวนพลเมืองของโลกเพิ่มขึ้น และการศึกษาไม่ก้าวทันกับความเจริญของการของการเพิ่มจำนวนพลโลก อีกข้อหนึ่งความเจริญในด้านต่างๆ ไม่ก้าวหน้าไปโดยสม่ำเสมอ คือมีความรู้สึกว่ามนุษย์ปัจจุบันดูจะเพ่งเล็งความก้าวหน้าในทางกิจการวิทยาการมากกว่าในทางการดำเนินชีวิตจริงๆ คือ นิยมความก้าวหน้าในทางวิทยาศาสตร์ และในทางวิทยาการต่างๆโดยที่ลืมว่าวิทยาศาสตร์และวิทยาการต่างๆนั้น เป็นสิ่งที่จะต้องมาใช้ทุกวัน ถ้าความก้าวหน้าเช่นนี้ผิดส่วนกับความก้าวหน้าทางเรื่องของชีวิตของทุกวัน คือ การดำเนินชีวิต วิธีดำเนินชีวิตต่างๆก็ทำให้….จะขอใช้คำว่าขาดทาง คือจะยืนไม่อยู่เพราะว่าความก้าวหน้าในทางวิทยาการก็นำไปสู่พระจันทร์ ซึ่งกำลังดำเนินอยู่เดี๋ยวนี้ ส่วนความก้าวหน้าในทางความรู้ในทางชีวิตนั้นก็อยู่กับกินพอใช้ คือเป็นชีวิตทุกๆวันและไม่ค่อยหรูหรานัก ก็เมื่อทางมันไปอย่างนี้ เราก็หกคะเมน พลโลกก็หกคะเมน ถ้าอยากที่จะให้โลกไม่แตกหรือเราไม่หกคะเมนตกเหว ก็จะต้องพยายามที่จะนำวิทยาการมาใช้ในชีวิตทุกวัน แล้วที่ทำแล้วที่พิมพ์หนังสือนี้ ก็นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของการที่ทำให้วิทยาการมาเป็นประโยชน์ต่อชีวิตทุกวันและก็ตามจำนวนที่ว่าพิมพ์ได้เดือนละห้าพันเล่มนั้น พลเมืองในเมืองไทยก็มีตั้งสามสิบกว่าล้านแล้วเดี๋ยวนี้ คนที่จะอ่านแม้จะเขียนไว้ง่ายๆหรือจะอ่านให้เป็นประโยชน์ก็ยังมีน้อย เพราะว่าการศึกษาในเบื้องต้นก็ยังไม่พอ ฉะนั้น ที่ทำก็เป็นความพยายามที่ถูกต้อง ที่น่าสรรเสริญ แต่ก็ต้องไม่ลืมว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสนใจมากขึ้นและที่จะสนใจจริงๆทั้งเวลาเป็นนักศึกษา ทั้งเวลาสำเร็จการศึกษาไปแล้ว จะไปเป็นอาจารย์ หรือจะไปเป็นทนาย จะไปเป็นผู้พิพากษาหรือเป็นอะไรก็ตามในทางอาชีพที่เลือกแล้ว ก็ให้พิจารณาดู จะทำอย่างไรเพื่อให้มีระเบียบเรียบร้อย และกฎหมายเป็นใหญ่ในบ้านเมือง
การทำกฎหมายให้เกิดขึ้น แต่ทำให้การบังคับใช้เกิดผลขึ้นมาไม่ได้ ก็เท่ากับไม่มีกฎหมาย
เท่าที่เคยไปดูตามท้องที่ต่างๆเห็นว่ามีสิ่งที่สำคัญคือ ความรู้ในทางที่จะอ่านหนังสือรู้หนังสือ ความสนใจที่จะหาความก้าวหน้าของประชาชนโอกาสที่จะเรียนหนังสือและหาความก้าวหน้ายังขาดมากยังมีน้อย แต่ว่าจิตใจที่จะหาความรู้ไม่ขาด ต้องการมาก ที่หมู่บ้านในแดนทุรกันดารแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ไกลห่างจากบ้านเมืองที่มีความที่เรียกว่าเจริญ ต้องเดินทีละห้าชั่วโมงจึงจะไปได้ถึงก็มีความต้องการการศึกษา ถึงขนาดชาวบ้านในหมู่บ้านนั้นเข้าหุ้นกันไปจ้างครู เขาจ้างครูแล้วก็มาสอนตามเพิงที่สร้างเอาไว้เมื่อไปเยี่ยมเขา จึงให้เงินไปส่วนหนึ่งไม่มากนักสำหรับสร้างโรงเรียน อันนี้ก็แสดงถึงความต้องการของประชาชนทั่วๆไป ที่จะหาความรู้หาความก้าวหน้าในชีวิต ฉะนั้น ที่ท่านทั้งหลาย นักศึกษาและอาจารย์ผู้ที่สนใจในทางวิชาการได้พยายามที่จะให้เขาเหล่านั้นได้ทราบถึงกฎหมายต่างๆก็เป็นการดี แต่ว่าก็อยากให้สำนึกและก็รู้ว่า กฎหมายไม่ใช่มีครบทั้งหมด ก็เพราะว่าคนที่มีความรู้ในทางกฎหมายมาทำกฎหมายมาตรากฎหมายให้หรูหราให้มีกฎเกณฑ์ต่างๆ เป็นประโยชน์ ถ้าทำกฎหมายแล้วก็ทำให้การบังคับเกิดผลขึ้นมาไม่ได้ก็เท่ากับไม่มีกฎหมาย หรือยิ่งร้ายกว่านั้นเพราะมีคนที่รู้มีคนที่เขาฉลาดใช้กฎหมายไปต้มคนที่มีความรู้ในทางกฎหมายน้อยกว่า แล้วก็คำที่ว่าทุกคนในบ้านเมืองย่อมต้องทราบถึงกฎหมายก็ไม่เป็นความจริง และเป็นความจริงไม่ได้ เพราะเป็นความผิดของทางปกครองด้วยที่จะต้องแจ้งให้คนทราบถึงกฎหมาย เป็นความผิดของนักกฎหมายด้วยที่สร้างกฎหมายที่ไม่เหมาะกับภาพของภูมิประเทศ ฉะนั้น การที่นึกถึงว่าจะเป็นประโยชน์ก็เลยต้องขอให้สนใจในหลักของกฎหมาย อันนี้เป็นสิ่งสำคัญ ขอให้สนใจถึงว่าใครเป็นจุดหมาย หรือใครจะเป็นผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากกฎหมาย ก็คือคนอย่างกฎหมายบ้านเมือง เมืองไทยก็คนที่อยู่ในเมืองไทย ซึ่งจำนวนไม่ใช่น้อยไม่ได้รับประโยชน์จากกฎหมายเลย ด้วยการไม่รู้เพราะไม่มีการศึกษาอีกอย่างหนึ่งด้วยการไม่รู้เพราะว่าไม่ได้ประกาศป่าวร้องว่ามีกฎหมาย อีกอย่างหนึ่งด้วยการที่กฎหมายจะใช้บังคับในท้องที่เหล่านั้นและในสภาพนั้นไม่ได้และยังมีปัญหาอีกมากมายหลายเกี่ยวข้องกับการบังคับกฎหมายที่ทำไม่ได้ เช่น การที่จะให้เจ้าหน้าที่ไปตรวจตราไปดูภาพในท้องที่ไม่ได้ ก็ขอให้ท่านทั้งหลายได้ศึกษาว่ากฎหมายนี้มีประโยชน์อย่างไร และจะทำอย่างไรสำหรับกฎหมายให้มีประโยชน์ยิ่งขึ้นโดยที่สนใจถึงชีวิตของกฎหมายและของคนในสภาพปัจจุบัน ใสสภาพจิตใจของคนปัจจุบัน ในสภาพของบ้านเมืองในปัจจุบัน จึงจะได้ทำหน้าที่ของผู้ที่สนใจในทางกฎหมาย ใช้คำว่าผู้ที่สนใจในทางกฎหมายก็เพราะว่า ทั้งผู้ที่กำลังศึกษาโดยตรงเป็นนิตสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ทั้งผู้ที่สนใจเพราะเป็นอาจารย์เป็นผู้ที่สนใจเพราะเรียนมา
4.พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะกรรมการจัดงาน “วันรพี” ณ พระตำหนักจิตลดารโหฐาน วันพุธที่ 8 มีนาคม 2515 โดยพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายอุกฤษ มงคลนาวิน อาจารย์ที่ปรึกษานิสิตแผนกวิชานิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำคณะกรรมการจัดงาน “วันรพี” เฝ้าฯทูลเกล้าฯถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลสมทบทุนอานันทมหิดล สาขานิติศาสตร์ ซึ่งได้พระราชทานพระราชดำรัสไว้ดังต่อไปนี้ :
ทำไมอาชญากรรมเพิ่มขึ้น
ในเรื่องที่คนเขาวิพากษ์วิจารณ์กันอยู่เสมอ และผลเป็นประการใดไม่ทราบ แต่ว่าตามหัวข้อนั้นก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจแก่ประชาชนทั่วๆไป คือ คนเราสงสัยอยู่เสมอในปัจจุบันนี้ว่าทำไมอาชญากรรมได้เพิ่มขึ้น อย่างน้อยได้เห็นในหน้าหนังสือพิมพ์หรือในข่าวทั่วๆไปว่ามีอาชญากรรมสูงมาก มากขึ้นทุกทีและมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าผู้ที่ทำอาชญากรรมนั้นถูกจับมาก็ไม่เข็ดหลาบ ไม่สามารถที่จะลงโทษให้ถูกต้องเพื่อที่จะให้ผู้ที่เป็นอาชญากรต่อไปให้เข็ดหลาบและเกรงกลัวต่ออาญาบ้านเมือง ข้อนี้ ก็เป็นข้อหนักใจแก่ประชาชนทั้งหลาย เพราะอาชญากรรมนั้นย่อมทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้บริสุทธิ์ และทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าหน้าที่ทั้งฝ่ายปราบปรามและฝ่ายปกครองด้วย เพราะว่าสะท้อนไปถึงบ้านเมืองเป็นส่วนรวม ทำให้บ้านเมืองก้าวหน้าพัฒนาไม่ได้ตามความประสงค์ ปัญหานี้ก็รู้สึกว่าจะเป็นปัญหาที่ลำบากมาก เพราะโดยมากลืมไปว่าการปราบปรามอาชญากรรมเพื่อมิให้ผิดกฎหมายเท่านั้นกฎหมายเป็นระเบียบการที่วางเอาไว้เพื่อให้บ้านเมืองมีขื่อแป หมายถึงบ้านเมืองมีกฎเกณฑ์ที่จะปฏิบัติตนเป็นวินัยประจำบ้านเมือง และเป็นทางที่จะทำให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุขโดยที่ประชาชนที่ร่วมอยู่ในแผ่นดินเดียวกันไม่เบียดเบียนกันและกัน
กฎหมายชราภาพ
ที่จะบอกว่ากฎหมายชราภาพในโอกาสวันรพี ก็อาจเป็นการลบหลู่พระเกียรติขององค์ผู้ได้เป็นพระบิดาแห่งกฎหมาย เพราะว่าทรงเป็นผู้วางรากฐานดูเผินๆก็อาจจริง ที่เป็นเช่นนี้แต่ในความจริงก็นับว่าอาจอยู่ว่าคำชราภาพนั้นเองที่ทำให้รู้สึกเช่นนั้น แต่ว่าตามหลักของกฎหมายเอง กฎหมายก็จะมีความเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ใช่ว่าเพราะชราภาพ แต่เพราะว่าคนที่ปฏิบัติตามกฎหมายนั้นเปลี่ยนไป และสังคมของโลกเปลี่ยนไป จึงทำให้ดูเหมือนกฎหมายชราภาพ การที่ได้บอกว่ากฎหมายชราภาพ จึงเห็นได้ว่าอาจมีมูลความจริง เพราะว่าเมื่อมีความเปลี่ยนแปลงในสังคม ก็จะต้องเปลี่ยนคำ เปลี่ยนกฎเกณฑ์บางอย่าง หรือบทลงโทษ แต่ว่าถ้าพูดถึงหลักทั่วๆไปของกฎหมาย กฎหมายนั้นก็เป็นสิ่งที่จะบังคับให้คนที่อยู่เป็นหมู่เป็นคณะที่อยู่เป็นบ้านเมือง เป็นสังคม ให้อยู่เย็นเป็นสุข โดยที่ไม่เบียดเบียนกันข้อนี้ไม่ได้เปลี่ยนแปลง อยู่ที่วิธีการเท่านั้นเอง นี่ข้อหนึ่ง กฎหมายที่วางเป็นรากฐานที่วางเป็นกฎเกณฑ์นั้น กฎเกณฑ์อาจไม่เปลี่ยนแปลง แต่การปฏิบัติเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าเคร่งครัดในวิชากฎหมายอย่างสำหรับในด้านตุลาการ ก็ต้องบอกว่ากฎหมายไม่มีหน้าที่จับ มีแต่หน้าที่ที่จะพิจารณาว่าถูกหรือผิด และเมื่อพิจารณาว่าถูกหรือผิดแล้วก็ให้วางลงโทษ ฉะนั้น ที่จะชราภาพก็อยู่ที่การลงโทษเท่านั้นเอง การลงโทษอาจไม่สอดคล้องกับอาชญากรรมที่ได้ประกอบขึ้นมา โดยเฉพาะเช่นการลงโทษโดยการปรับเงิน ค่าของเงินก็เปลี่ยนแปลง ถ้าเวลาล่วงไปเงินตราก็อาจเปลี่ยนราคาไป แต่ก่อนนี้มี 5 สตางค์ ก็รู้สึกว่ารวยแล้ว เดี๋ยวนี้มี 10 บาท ก็ยังทำอะไรไม่ค่อยได้ อันนี้ก็เป็นสภาพ ไม่ใช่เรื่องของกฎหมาย แต่เป็นเรื่องของเศรษฐกิจหรือการคลัง อันนี้ในด้านการลงโทษ แต่ในด้านปราบปรามอย่างอื่นให้อาชญากรรมลดลงไปก็อยู่ที่ความสามารถของฝ่ายปราบปรามคือฝ่ายตำรวจ การที่จะให้สามารถที่จะจับผู้ร้ายมาลงโทษก็อยู่ที่ตำรวจ ไม่ได้อยู่ที่คณะตุลาการหรือทางกฎหมาย ถ้าพูดถึงตำรวจก็ยังมีเรื่องราวของทางการเมืองหรือทางสภาพของสังคมซึ่งก็ไม่ได้อยู่เรื่องนิติศาสตร์เลย ฉะนั้นการที่ได้อภิปรายว่ากฎหมายชราภาพนั้นก็เป็นอันครบถ้วน แล้วก็ความคิดที่วิพากษ์วิจารณ์ว่ามีอาชญากรรมเพิ่มขึ้นเพราะว่ากฎหมายชราภาพจึงเป็นปัญหาที่ไม่ครบถ้วนและไม่สามารถที่จะปฏิบัติเป็นผลใดๆเลย
พูดถึงในด้านกฎหมายว่าชราภาพหรือไม่ชราภาพ ก็สรุปว่าพูดไม่ได้ว่าชราหรือไม่ชรา ในด้านอาชญากรรมอาชญากรนั้นก้าวหน้าหรือไม่ ก็คงก้าวหน้าไปตามสภาพของวิทยาศาสตร์และความรู้สึกที่ได้ถ่ายทอดมาในหมู่อาชญากร ซึ่งก็เข้าใจว่าพัฒนาขึ้น เพราะว่าแต่ก่อนนี้ใช้กำลังกายของตัวหรือใช้อาวุธที่ไม่ทันสมัย มาเดี๋ยวนี้อาวุธทันสมัยมากและอาวุธในทางที่ประกอบด้วยตนเองด้วยวัตถุที่มีอยู่ในท้องตลาดก็สะดวกขึ้นมาก จึงเห็นว่าวิชาการของอาชญากรรมหรือฝ่ายอาชญากรก้าวหน้าจริงๆเพราะว่ามีความสะดวกสบาย วัสดุก่อสร้าง วัตถุระเบิดต่างๆก็มีมากขึ้น ทั้งมีสื่อมวลชน มีวิชาทานทางวิทยุและโทรทัศน์อย่างมากมาย ที่จะแสดงวิทยาการอาชญากรรมได้มากขึ้น จึงสรุปได้เหมือนกันว่า อาชญากรเขาก้าวหน้า แต่ถ้าบอกว่าอาชญากรเขาก้าวหน้าในเวลาเดียวกันก็พูดได้ว่ากฎหมายล้าหลังลงไป หรือตามศัพท์ว่าชราภาพลงไปด้วย รวมความแล้วก็ที่อภิปรายนั้นก็ขอให้ถือว่าเป็นความรู้และเป็นความสนุกสนานในการลับสมอง แต่ว่าถ้าดูในด้านวิชาที่ท่านทั้งหลายเรียกอยู่ก็ออกจะข้างคูมาก เป็นเรื่องของความสนุกสนานและเป็นเรื่องของการเอาใจการวิพากษ์วิจารณ์ของประชาชนทั่วๆไปเท่านั้นเอง มิได้เป็นการอภิปรายหรือการค้นคว้าในหลักวิชาแท้ๆ อย่างไรก็ตามที่ได้ตั้งได้ทำการอภิปรายก็คงได้เป็นประโยชน์ อย่างหนึ่งอย่างใดสำหรับลับสมองแก่ผู้ที่ได้ไปฟังและผู้ที่ได้ปฏิบัติในการอภิปราย ก็ขอให้ได้รับประโยชน์สูงที่สุดในการจัดงานนี้ว่าความรู้สิ่งใหม่ที่ได้จากอภิปรายนั้นก็รับมาไว้พิจารณาได้และขอให้พิจารณาในเรื่องว่า เมื่อศึกษาเมื่อร่วมเป็นผู้ที่ศึกษาในวิชานี้ให้เห็นความครบถ้วนของการอภิปราย และขอให้เกิดอภิปรายในสมองของแต่ละคนว่าปัญหานี้มีจริงเพียงแต่อาจไม่ได้แสดงออกมาด้วยคำพูดที่ถูกต้อง แต่ปัญหาสำคัญอยู่ที่ว่ากฎหมายมีความสำคัญสำหรับบ้านเมืองเพื่อที่จะรักษาความมีระเบียบเรียบร้อย และเราจะปฏิบัติอย่างไรเพื่อให้สำเร็จผลตามจุดประสงค์นี้ คือ จุดประสงค์ของวิชากฎหมาย ในเวลาที่เรียนอยู่ก็ต้องสนใจในข้อนี้ อย่างเป็นเป้าหมายอันสำคัญ สิ่งใดที่ได้ฟังมาเห็นว่าเป็นหลักวิชาก็ขอให้มาพิจารณาดูว่าเป็นประโยชน์อย่างไร
ขอให้ทุกคนขะมักเขม้นในการค้นหาความรู้ในเมื่อมีโอกาสได้เรียน และเป็นทางที่จะเพิ่มเสริมสร้างความรู้ให้แก่ตัวเป็นพลังอันสำคัญ และขอให้ใช้ความพิจารณาที่รอบคอบในการปฏิบัติวางตัว ในปัจจุบันเมื่อได้สำเร็จการศึกษาออกทำหน้าที่ตามวิชาที่ได้เรียนรู้มา ก็ขอให้รักษาจิตใจที่จะชอบค้นคว้า จิตใจที่จะชอบพิจารณา วิจารณ์ วิจัยในตัวเองว่าจุดหมายของชีวิตมีอะไร จะทำให้บ้านเมืองและส่วนรวมได้รับประโยชน์อย่างยิ่งจากแต่ละคน ซึ่งจะเป็นกำลังแท้ๆ เพื่อนำพาประเทศชาติไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองมีขื่อมีแปมีความเรียบร้อยมั่นคง
5.กระแสพระบรมราโชวาทพระราชทานแก่คณะกรรมการจัดงาน “วันรพี” ณ พระตำหนักจิตลดารโหฐาน วันพุธที่ 27 มิถุนายน 2516 โดยพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายอุกฤษ มงคลนาวิน คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำคณะกรรมการจัดงาน “วันรพี” เฝ้าฯน้อมเกล้าฯถวายเงินรายได้จากการจัดอภิปราย ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2515 โดยเสด็จพระราชกุศลสมทบทุนอานันทมหิดล สาขาวิชานิติศาสตร์ ซึ่งได้พระราชทานพระราชดำรัสไว้ดังต่อไปนี้
หน้าที่ของผู้รักษากฎหมาย และผู้ที่ปฏิบัติกฎหมาย
อันกฎหมายนี้ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับบ้านเมือง เพราะว่าเป็นหลักของการเป็นอยู่ร่วมกันในชาติบ้านเมือง เพื่อให้การเป็นอยู่มีระเบียบเรียบร้อย และให้ทุกคนที่อยู่ในชาติสามารถที่จะมีชีวิตที่รุ่งเรืองโดยไม่เบียดเบียนกันหน้าที่ของผู้ที่รักษากฎหมาย และผู้ที่ปฏิบัติกฎหมายก็มีหลายด้าน ด้านแรกก็คือ ที่จะให้บุคคลต่างๆสามารถที่จะปฏิบัติตามกฎหมายและถ้ามีเหตุใดก็ทำให้ปฏิบัติการในทางกฎหมายเป็นไปโดยยุติธรรม ไม่ทำให้ผู้ใดเสียเปรียบกันมากเกินไป ในด้านนี้ก็จะต้องให้ประชาชนทั้งหลายมีความรู้ในข้อกฎหมายต่างๆซึ่งท่านได้ทำบริการชี้แจงเรื่องกฎหมายแก่ประชาชนอยู่แล้วนอกจากนี้ จะต้องศึกษากฎหมายให้สามารถที่จะบริการประชาชนได้ดีที่สุด คือถ้ามีช่องโหว่หรือมี กฎหมายที่ไม่เหมาะสมแก่เหตุการณ์ก็จะต้องพยายามที่จะศึกษาเพื่อที่จะปรับปรุงให้ดี เราจะต้องพิจารณาในหลักว่า กฎหมายมีไว้สำหรับให้มีความสงบสุขในบ้านเมืองมิใช่ว่า กฎหมายมีไว้สำหรับบังคับประชาชน ถ้ามุ่งหมายที่จะบังคับประชาชนก็กลายเป็นเผด็จการ กลายเป็นสิ่งที่บุคคลหมู่น้อยจะต้องบังคับบุคคลหมู่มาก ในทางตรงข้ามกฎหมายมีไว้สำหรับให้บุคคลส่วนมากมีเสรี และอยู่ได้ด้วยความสงบ บางทีเราต้องตรากฎหมายขึ้นมาก็ด้วยวิชาการซึ่งได้มาจากต่างประเทศเพราะว่าวิชากฎหมายนี้ก็เป็นวิชาที่กว้างขวาง จึงต้องมีทำอะไรอย่างหนึ่ง แต่วิชาการนั้นอาจไม่เหมาะสมกับ สถานการณ์หรือท้องที่ของเรา บางทีเคยยกตัวอย่างมาเกี่ยวข้องกับที่ดิน เกี่ยวข้องกับการทำมาหากินของประชาชนที่อยู่ห่างไกลซึ่งเราเอากฎหมายไปบังคับประชาชนเหล่านั้นไม่ได้ เพราะว่าเป็นความผิดของตนเอง เพราะการปกครองไม่ถึงประชาชนที่อยู่ห่างไกล จึงไม่สามารถที่จะทราบถึงกฎหมาย ความบกพร่องก็อยู่ทางฝ่ายที่บังคับกฎหมายมากกว่าฝ่ายที่จะถูกบังคับข้อนี้ควรจะถือเป็นหลักเหมือนกัน ฉะนั้น ต้องหาวิธีที่จะปฏิบัติกฎหมายให้ถูกต้องตามหลักของธรรมชาติ มีข้อกฎหมายเฉพาะอย่างหนึ่งที่ได้เคยประสบ อันนี้ก็เป็นกรณีเฉพาะ แต่ก็ขอมาเล่าให้ฟังและถือว่าเป็นข้ออย่างหนึ่งที่เป็นปัญหาอย่างยิ่ง ก็เกี่ยวกับที่ดินอีกและเกี่ยวข้องกับผู้ที่อยู่ห่างไกล เช่น ในป่าสงวนซึ่งทางราชการได้ขีดเส้นไว้ว่าเป็นป่าสงวน หรือป่าจำแนก แต่ว่าเราขีดเส้นไว้ ประชาชนก็มีอยู่ในนั้นแล้ว เราจะเอากฎหมายป่าสงวนไปบังคับคนที่อยู่ในป่าที่ยังไม่ได้สงวนแล้วเพิ่งไปสงวนทีหลังโดยขีดเส้นบนเศษกระดาษก็ดูชอบกลอยู่ แต่มีปัญหาเกิดขึ้นที่เมื่อขีดเส้นแล้วประชาชนที่อยู่ในนั้นก็กลายเป็นผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายไป ถ้าดูในทางกฎหมายเขาก็ฝ่าฝืน เพราะว่าตรามาเป็นกฎหมายโดยชอบธรรม แต่ว่าถ้าตามธรรมชาติใครเป็นผู้ทำผิดกฎหมาย ก็ผู้ที่ขีดเส้นนั่นเองเพราะว่าบุคคลที่อยู่ในป่านั้นเขาอยู่ก่อนเขามีสิทธิในทางเป็นมนุษย์ หมายความว่าทางราชการบุกรุกบุคคลบุกรุกกฎหมายบ้านเมือง ข้อนี้ก็เป็นปัญหาและเกิดวุ่นวายขึ้นมาหลายครั้ง เมื่อได้ดำเนินคดีกับผู้ที่บุกรุกในป่าสงวนและข้อนี้ก็เคยพูดมาแล้ว อาจฉงนว่าทำไมมาพูดอีก ก็เพราะว่ามีความคิดไปอีกขั้นหนึ่ง บุคคลเหล่านั้นผิดกฎหมายบ้านเมือง เมื่อป่าสงวนนั้นทางราชการเปิดให้เป็นป่าเปิดจับจองได้แต่บุคคลที่อยู่ในนั้นกลับเป็นผู้บุกรุกที่เจ้าของ อันนี้ก็เป็นสิ่งที่มหัศจรรย์อยู่เพราะว่าเมื่อเปิดแล้ว ผู้ที่อยู่ในป่าและปฏิบัติดำเนินชีวิตอย่างธรรมดาควรจะมีสิทธิในที่นั้น แต่กลับมาเป็นผู้บุกรุก บุกรุกที่ดินที่มีเจ้าของ นี่ก็เพราะเหตุว่าเมื่อป่าสงวนนั้นเปิดออกมาเป็นป่าเปิด ก็มีผู้ไปจับจองทำกิน ผู้ที่ไปจับจองก็ถูกต้องตามกฎหมายเพราะไปที่อำเภอแล้วก็ไปขอจอง ผู้ที่เป็นเจ้าของที่ไปจับจองไว้ก็ถูกต้องตามกฎหมาย ก็ไปขับไล่คนที่อยู่ในนั้น คนที่อยู่ในนั้นเดิมก็กลับเป็นจำเลย เป็นจำเลยในกรณีว่าบุกรุกที่ของคนอื่น อันนี้เห็นว่าไม่ยุติธรรมอย่างยิ่ง และกฎหมายที่มีอยู่เรื่องการจับจองที่ก็มีว่า ทุกคนสามารถที่จะไปจองที่ที่ว่างเปล่าหรือที่ว่างเปล่าที่ไม่หวงห้ามแต่ว่าความยุติธรรมอยู่ที่ไหนเรื่องนี้ก็พยายามที่จะบอกให้เจ้าหน้าที่ทราบ หมายถึงเจ้าหน้าที่ปกครองว่าน่าจะมีทางหนึ่ง ถ้าเราเปิดป่าที่เป็นป่าสงวนหรือป่าจำแนกป่าอะไรที่ไม่ให้ประชาชนเข้าไปควรที่จะห้ามไม่ให้จับจองหรือห้ามไม่ให้จับจองเป็นระยะเวลา 1 ปี มีกำหนดบ้าง นี่ก็เป็นเพราะกฎหมายซึ่งต้องปรับปรุง ถ้าเราทำเช่นนั้นก็สามารถจะป้องกันไม่ให้พวกที่ไปจดชื่อเอาไว้จัดการเปิดคล้ายๆไปตั้งคิวอยู่ก่อนที่จะเปิด ผู้ที่จับจองในลักษณะนั้นโดยมากก็รู้ล่วงหน้าซึ่งก็ไม่ยุติธรรมอยู่แล้วรู้ล่วงหน้าว่าจะจัดป่านั้นไม่ให้เป็นป่าสงวนก็ไปเซ็นชื่อหรือไปจองที่จะจองควรจะห้ามไม่ให้เป็นเช่นนั้น แล้วก็ถ้าเปิดออกมาก็น่าจะเป็นที่ที่ทางราชการหรือทางจังหวัดขั้นจังหวัดก็ได้ เป็นผู้ที่จะจัดสรรที่ดินให้แก่ประชาชนที่ไม่มีที่ดินอยู่ หรือแก่ประชาชนที่อยู่ในนั้นแล้ว แล้วจัดสรรที่ดินให้ทำมาหากินโดยสุจริต จะแก้ปัญหาความวุ่นวาย แม้ปัญหาก่อการร้ายก็จะขจัดไปได้ ฉะนั้น ก็ต้องมีการวิจัยหรือมีการแก้ไขกฎหมายบางส่วน ซึ่งอาจบอกว่าไม่ใช่หน้าที่ของคณะนิติศาสตร์ที่จะแก้ไขกฎหมายให้ถูกต้อง ต้องเป็นเรื่องของทางสภานิติบัญญัติที่จะแก้กฎหมายแต่ว่าถ้าสภานิติบัญญัติซึ่งถ้าตามปกติจะประกอบด้วยผู้แทนราษฎร ผู้แทนราษฎรนั้นอาจมีนักกฎหมายบ้างแต่ส่วนมากก็เป็นผู้ที่เป็นผู้แทนราษฎรอาชีพ คือเป็นผู้ที่ไปลงหาเสียงแล้วก็ไปเข้าในสภาสังกัดพรรคการเมือง ไม่ได้เป็นนักวิชาการแท้ จะต้องอาศัยนักวิชาการหมายถึงผู้ที่ศึกษากฎหมายโดยแท้ ถ้านักกฎหมายที่ศึกษาในทางกฎหมายโดยแท้ไม่ได้สนใจในปัญหาที่แท้จริง มัวแต่มาดูเพียงทางทฤษฎีของกฎหมายก็จะไม่เกิดประโยชน์ แต่ถ้านักกฎหมายหรือผู้ที่สนใจกฎหมายได้ไปดูข้อเท็จจริงต่างๆกฎหมายจะช่วยให้บ้านเมืองมีความเรียบร้อย ก็จะทำให้ช่วยทางนิติบัญญัติชี้ทางให้สภานิติบัญญัติว่าควรจะปรับปรุงกฎหมายที่ตรงไหน
ประชาชนในเมืองไทยจะไร้ที่ดิน……..ประชาชนจะเป็นทาสคนอื่น
ที่เล่าให้ฟังเช่นนี้เพราะว่าได้ไปประสบปัญหานี้ มีความเดือดร้อยอย่างยิ่งว่าประชาชนในเมืองไทยจะไร้ที่ดิน และถ้าไร้ที่ดินแล้วก็จะทำงานเป็นทาสเขา ซึ่งเราไม่ปรารถนาที่จะให้ประชาชนไทยเป็นทาสคนอื่น ในเมืองไทยนี้ที่ผ่านมาประชาชนแต่ละคนเป็นไทยแท้ คือมีที่อยู่อาศัย มีอาชีพที่เป็นเอกเทศที่จะเลี้ยงตัวได้ แต่เวลานี้กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างน่ากลัว คือประชาชนกำลังจะเป็นทาสที่ดินให้มีนายทุนมากดหัว ซึ่งข้อนี้ก็น่าคิดอยู่ เพราะว่าเมืองไทยซึ่งเคยโดนประณามจากคนบางส่วนว่าเป็นระบบศักดินาจักรวรรดินิยม แท้จริงไทยแท้ของเราอาจมีศักดินาแต่ศักดินาไม่ได้หมายถึงอย่างที่เขาตีความหมาย คือ การกดหัว เรามีระบบว่าแต่ละคนมีที่ดินของตัวแต่ละคนมีที่อยู่อาศัยของตัว มาเดี๋ยวนี้จะกลายเป็นระบบที่เขาประณาม คือระบบแบบสมัยกลางในยุโรป ซึ่งเป็นระบบที่กดหัวต่อๆกันมา จนกระทั่งใครที่จะแย่ ก็คือคนที่อยู่ติดแผ่นดินที่ได้บัญญัติศัพท์ไว้ว่าเป็นหนอนแผ่นดิน ได้เห็นมาว่าคนที่เคยทำงานในที่ที่ตัวเห็นเป็นของตัวกลายเป็นหนอนติดแผ่นดิน เพราะว่าความคับแค้นความลำบาก แท้จริงตัวเคยทำงานในที่ที่เป็นของตัว หรือเป็นของตัวได้ ท่ามีนายทุนมาขอซื้อที่ดินจึงขายเพราะว่านึกว่าเงินนั้นจะดี เงินนั้นจะนำความสุขมาให้แก่ตัว แท้จริงเมื่อเงินหมดไปแล้วก็ต้องรับจ้างเขา รับจ้างเขาในราคาถูกและกลายเป็นทาสเขาในที่สุด แต่ถ้าเราสามารถที่จะขจัดปัญหานี้ โดยเอาที่ดินจำแนกนี้มาจัดสรรอย่างยุติธรรมอย่างที่มีการตั้ง จะเรียกว่านิคม หรือจะเรียกว่าหมู่หรือกลุ่มหรือสหกรณ์ก็ตามก็จะทำให้คนที่มีชีวิตที่แร้นแค้นสามารถที่จะพัฒนาตัวเองขึ้นมาได้ แต่ต้องอาศัยกฎหมาย อาศัยระเบียบการที่เหมาะสม และอาจต้องปรับปรุงกฎหมายและระเบียบการให้ดี ฉะนั้น ก็ขอฝากความคิดแก่ท่านทั้งหลาย ทั้งอาจารย์ ทั้งนิสิตว่ามีปัญหาในทางกฎหมายหลายด้าน ทั้งในด้านปฏิบัติกฎหมายซึ่งจำเป็นต้องบริการประชาชน ชี้แจงให้ทราบถึงกฎหมาย แล้วก็ชี้แจงให้บริการในทางช่วยเหลือ ทั้งมีปัญหาที่จะปรับปรุงกฎหมายไม่ใช่ปฏิวัติ แต่ปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ กับท้องที่ กับบ้านเมืองของเรา สมมุติว่าถ้าเราเริ่มย้ายคนถึงเวลาเริ่มย้ายคนก็บอกว่าครอบครัวที่อยู่ในเขตที่เรากำลังทำงานนี้มีเท่านี้ครอบครัว แล้วก็คนที่อยู่ในเขตนี้ไปอยู่ไหน แล้วให้หนังสือพิมพ์เห็นว่าไปอยู่ที่ไหน อยู่ที่เขาหาให้ที่ที่ทำให้คนอื่นเขาอยู่ตลอดได้….. จะทำให้บ้านเมืองของเรามีความสามารถที่จะรักษาความดีรักษาความเป็นปึกแผ่น รักษาความเป็นกันเองของประชาชน ก็ไม่จำเป็นที่จะเป็นทาสของความคิด ซึ่งเราอาจนึกว่าสมัยใหม่ ถ้าเราคิดอะไรออกให้อยู่เย็นเป็นสุขแล้ว นั่นน่ะสมัยใหม่พอแล้ว ก็ขอฝากความคิดเหล่านี้
แล้วก็จะเป็นประโยชน์ อย่างไรก็ตาม ก็ขอให้ประสบความสำเร็จในความคิดต่างๆที่มี ที่ดี ที่งาม และผู้ที่ศึกษาก็ขอให้สำเร็จการศึกษาโดยดีที่สุด เพื่อที่จะเป็นประโยชน์แก่ตนเอง เป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองและส่วนรวม ขอจงประสบแต่ความดีความงาม ความเจริญทุกประการ
พระอัจฉริยภาพทางกฎหมายของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้อัญเชิญมากล่าวไว้ ณ ที่นี้ เป็นเพียงส่วนน้อยที่ข้าพเจ้ามีบุญวาสนาได้รับพระราชทานพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้โดยตรงและพระราชดำรัสทั้งหมดไม่ได้ทรงอ่านจากต้นฉบับ เพราะได้พระราชทานจากพระราชดำริ และพระราชวิจารณ์ที่อยู่ในพระทัยของพระองค์ท่านโดยแท้ จึงสมควรที่จะได้ศึกษาไตร่ตรองอย่างลึกซึ้ง และนำมาปฏิบัติให้เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนให้สมดังพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว
การปกครองแผ่นดินต้องปกครองโดยกฎหมาย แต่กฎหมายที่นำมาใช้ต้องเป็นกฎหมายที่เป็นธรรม และผู้บังคับใช้กฎหมายต้องมีความยุติธรรม สังคมจึงจะเกิดสันติสุขที่แท้จริง สมแล้วที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของพวกเราชาวไทย ได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการ ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เมื่อวันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม 2493 ว่า
“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”
ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน
คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2515-2521
ประธานรัฐสภา 2527,2528-2532,2534,2535
ที่มา : หนังสือ 72 ปี พ.ศ.2548 หน้า 3-18
Homage to His Gracious Benevolence
His Majesty’s Intellect on Legal System
The intellect of His Majesty in the legislative field is evident in the tribute made on the occasion that Chulalongkorn University Council unanimous agreed to present an honorary doctoral degree in Laws to His Majesty on May 28,1987,an excerpt of which is worthy of appearance herein.
“Since the early days of accession to the Throne, His Majesty,s interest in the field of law and governance has always been apparent as they prove to be of significance to the Royal duties to be carried out in the future.His Majesty dedicatedly studied laws at Lanssanne University and has shown an enormous intellect in the field.The comparative studies of legal systems in the international scale have perfected His Majesty’s competence of supremacy.Upon the return to the Kingdom,His Majesty has performed the Royal functions as stipulated in the Constitution impeccably, upholding and exercising the regal authority as the Head of State through the mechanism of the National Assembly,government and court, Thoughtful judgement and advices were given leading to a great benefit of the state affairs conventions.Myriad of constitutions,enactments,emergency decrees and decrees have been royally promulgated for the justice of the Land.Trial and adjudication of cases are preceded in the name of His Majesty.Nonetheless,when the final verdict is reached,His Majesty is still the magnitude of mercy with the power to pardon , the procedure which His Majesty personally considers with justness and impartiality.It is the least to say that His Majesty is a gracious pillar of justice of eternity.
Amidst the aforesaid, His Majesty King Bhumibol Adulyadej has extended extraordinary consideration to the national law society. His Majesty’s visit to the Civil and Criminal Courts of the metropolis emphasized the importance of the judicial procedure,enhanced by His Majesty’s presence to preside over the opening of courts in many locales when occasion permits. His Majesty’s observation of court adjudication in accordance to the law has been witnessed and praised by far and large. His Majesty holds a status of the Honorary Barrister of the Barrister Association under the Royal Patronage with an intention to escalate the profession. His Majesty has graciously promoted the value of law practitioners by presiding over the graduation ceremony of the Barrister Association.His Majesty’s greatness does not confine domestically but has been reputed on an international scale as evident by His Majesty’s presidency over many international laws symposiums. His Majesty’s speeches given on such occasions were imbedded with law substance worthy of worldly respect.
Nonetheless,the subsequence of great value and wisdom are the speeches and advices given to the legal or related sphere on various occasions which have become prototype upon which the law philosophy suitable for the Thai society should be built. His Majesty has emphasized on many occasions that laws are simply tools in search of justice and will endorse justice only when used righteously in accordance to the intention of such laws. It is significant then that the followers of laws maintain an honest mind. Most importantly,they should adhere to a role to disseminate the knowledge on laws to the people as to build a basis for peace and tranquility of the nation. The initiation is immaculate and a product of thorough consideration.His Majesty’s speeches are always in accordance of each other based on the understanding and legal intellect resulting in the legal philosophy true to the current state of affairs. The most astounding fact is however that the time in which these concepts were spoken of,there were such novelty unheard of by many. Over two decades have passed and it is apparent that all legal professions are agreeable of its virtue. Many projects have been set up following His Majesty’s advices by private and public entities. Of particular to Chulalongkorn University is in the early days, His Majesty had on several occasions deliberated the concepts leading to an idea to establish the Legal Advice Centre which has been operated till the present. His Majesty’s wisdom has yielded much benevolence to the legal profession arena.”
Personally,as a lecturer and Dean of the Faculty of Laws,Chulalongkorn University, I have been granted an audience with His Majesty on several occasions since 1969. In these audiences His Majesty has convened many initiatives on the legal issues, all of which have been included in the compilation of His Majesty’s speeches and initiatives. Nonetheless, I would cite examples which have been directed to me. As there are many of His Majesty’s speeches given to others on the legal issues as evident in the compilation of His speech and initiation since 1950.
There are many of His Majesty’s oration and consideration given to me as the President of the National Assembly and on the occasions when submitting the draft constitutions for His signature together with unrecorded speech which I have not humbly requested for His permission to circulate. Though those undoubtedly express His Majesty’s deep intellect in the field of legal and I shall always remember with great respect.
Herein I shall cite only some samples of His Majesty’s speech.
- The speech given to the Organizing Committee of “Chulalongkorn Laws Day”
At Chitlada Palace on Thursday March 13,1969. The audience was granted to Ukrit Mongkolnavin,advisor of Laws Department, Faculty of Laws, Chulalongkorn University and the Organizing Committee of ‘Chulalongkorn Laws Day’ to present part of the proceed of the seminar on ‘National Security’ . The seminar panels consisted of Field Marshal Thanom Kittikachorn,the Prime Minister ; Colonel Naivaragarn Bancha, the President of the National Assembly ; and Dr.Prakob Hutasigna, the President of the Supreme Court with Dr.Ukrit Mongkolnavin as a moderator at Chulalongkorn Auditorium. The seminar was on live coverage for the first time on January 10,1969.The Proceed was for His Majesty’s scholarships to the children of the deceased officers from the terrorist suppression operation. The topics covered were categorized as follows:-
Law and Reality
Law and reality may contradict each other while there existed many loopholes in the law itself. This was because we adopted and modified laws and governance pattern based on foreign principles while failing to recognize the lifestyle of the people. Worse still was the state failed to realize that they had not reached people. Thus, people had to set up their own rules which did not always bad. There might be some contradiction with the state laws. In Prachaup Kirikhun, for example, two years ago, officials visited a village where people from Nakorn Sri Thammarat migrated to and settled down near the bordor of the national park. They might have invaded the reserved area but these people had worked and lived in harmony which meant that they had set up their own governing body.The only thing missing was a sheriff or state officer who would have make it a democratic village. In fact, they were even more democratic than had the sheriff been appointed to govern.But without the sheriff, they were seen as bandit,almost communists.
We never wanted to have any communist in Thailand. Yet we created communists by pointing finger at people who had lived peacefully accusing them of invading the reserved park and chasing them away.Those people were working efficiently for years in Nakorn Sri Thammarat and never deforested. Unfortunately, the laws stated that the national park cannot be invaded and that put them in trouble. We often drew a park boundary on a map albeit any official assessment,most of the time did not. So how could these people know whether it was a national park.When we regarded them as villagers,we forced them to understand laws,But these kinds of laws were to draw a line against them and were not true law.They were laws because the National Park Enactment was law.But it was improbable to assume their acknowledgement as the state did not inform them so.In an ancient time,a drum would be beaten to inform any news.But today we did not beat any drum and orally announced anything.So it was incorrect to blame them for not knowing laws.The fact was they would know had the state been better . This explained many confrontations between the state and the people as each party had their own faults.The legal officers assumed authority under laws while the people argued that making a living was also lawful.When there wasa dispute,both parties faced problem.So it was a responsibility of those who knew laws to explain not to impose laws on them. It was to make each party understand that we both lived in the same country and had to live harmoniously not to deter each other.
Laws and Operational Loophole
Lately,[I] went to Thammasart University and spoke of the word ‘appropriateness’ as the heart of democracy.[I] explained that individual had right and liberty. But if each of us exercised our right and liberty to a full extent, this would surely affect other’s right and liberty.So we could not have 100 percent right and liberty but rather appropriateness.Liberty had to be limited. In a society or a country, individual’s liberty was limited by other’s liberty.So it can be seen that ‘appropriateness’was important.
As for legal and politics, ‘appropriateness’ was also important. If we would like to govern or assist the lawfulness of the state, we could not enforce all laws. If we looked at laws, for example,[I] looked at Publication Laws yesterday, Clause 36 stated that when publication official saw that any advertisement in newspaper was in contradiction with the state peace or morale , then the official had a right to call the advertiser in for detention or to submit manuscript for inspection before publishing or other measure even imprisonment, This would be on the interpretation of the extent of offence.Thus,we could see that the intention of these laws were to ensure that any publication was not in jeopardy with the people’s morale and state security. When put in use,the laws were still up to interpretation.
Flexibility (Implementation of Political Science Principles)
Regarding the state governance, an implementation of laws was also important. In this,[I] must use an unpleasant word ‘flexibility’ and like to ask you to carefully consider this word.[I] have seen more often that if the state governance was too rigid, despite how honest that could be, everything went chaotic. There must be flexibility with good intention. Flexibility if used rightly then it was good,but if used to suit your pleasure then it may be corrupted. It would be even more difficult to use expecially if you had other pressure, a tendency for corruption would be even easier. Three days ago,[I] went to Nan province and saw difficulties in the governance there as transportation in Nan was not convenient. In some areas like Tung Chang, Chiang Klang, Pau districts, officials could not access yet as the terrain was mountainous. When flying pass these areas, there were still fighting of the airborne police from Narasaun camp and Bandan against the invaders who called themselves Maew Junta coming from the north in Laos territory. It meant that these foreign and hostile invaders could access the area easily. How could the governing laws in the area be Thai laws when our officials did not dare to go or station there for fear of attack or gun fire. And it was not just riffle but machine gun, bazooka and other lethal weapons used in military war. If our officers could not access then how could we govern the area. Or how could it be called reserved park. It seemed impossible.And the Maew or villagers there, how could we make them obey Thai laws.This was still a problem.
True Democracy is by Intention,by the Hearts of People and not by Written Words
When I gave a report on the establishment of ‘Legal Advice for People Centre’ by the Laws Department of Chulalongkorn University which was operated by lecturers and students to educate the public,His Majesty advised on the matter that….
“[I] ask you to complete your study then consider what should be done next. What you have done so far mainly was to set up a group and organize an event with the help of lectures who also helped establishing the centre. The centre would help the people conveniently . when contacting with them,it should be on personal basis.When talking about responsibility,it is not as responsibility of authorities because you have to be with government agencies with superiors and subordinates,[I] ask you to speak as students,as mature Thai people helping educating those who know lesser than you , facilitating harmonious living together. This would be very good. And from now on you have to keep this going as best as you can so that our country would be maintained by true democracy by intention , by the hearts of the people and not by written word.”
2.The speech given to the Organizing Committee of ‘Raphee Day’ at Chitlada Palace on Monday March 8, 1970. The audience was granted to Ukrit Mongkolnavin,advisor of Laws Department, Faculty of laws,Chulalongkorn University and the Organizing Committee of ‘Raphee Day’ to present the proceed of the television play entitled ‘Sai Sear Leaw’(Too Late Now) on Thai Television channel to use at His Majesty’s pleasure as scholarship for children of the deceased officers from terrorist suppression mission.The play reflected the problems of youth from broken families who had turn to commit crime.His Majesty’s speech on that day stated that……
Juvenile Problem Must Be Jointly Solved
The organization of the play should be praised because these laws want the people to know of its mechanism and background.[I] had seen how useful it was because the play reflected current social state.In the current society,everyone was concerned of the occurring problem called juvenile problem.It meant increasing number of youth that lacked of knowledge and schooling turned into bandit forming a gang to do inappropriate things. Juvenile problem was not the concern of only governmental officers or police force.It was the responsibility that everyone must try to protect and solve as it was and can be observed. The problem rose as these youth saw that honest living was tiring, needed knowledge and patient ,while dishonest living that is to set up a bandit gang was easier. There were also examples from newspapers, television and movies which showed that earning a living as bandit may also be convenient and easier ways. But if these youth had knowledge and known of its danger or that the society was protected or of suppression officials and juridical trial,they would have known the danger of their crime. This would urge them to seek knowledge for themselves and try other better ways. The event you organized was therefore very useful.
Joint Effort to Educate Youth
[I] like to observe that increased population also meant increased child birth.This would mean more burdens to the state to provide more education establishments. So the state must provide more schools and produce more teaching professionals to accommodate the increasing number of children.This was difficult and other ways must be found to solve it. The other ways was mature people with more knowledge should give attention to the problem.Even though they may not be teachers or educational professions, they still should give attention to educate those junior to them both in terms of age and gualification.Some students though were still youth because of their young ages could take this responsibility because they were also older and wiser than many people. It was then their duty to teach or explain to those younger or less qualified so that they understand and become capable to work for the benefit of their own and others without taking advantage of the state and society.[I] like to ask you all to think that when you study in university especially in laws, it is your great duty from now on, not when graduate, Your future career would concern legal works which you had learnt substantially up to now. So you could begin to contribute to the society. If you could do this then you would have done good in your capacity for the society to prevent future difficulties which there were more than enough now. We must try to prevent. Your presentation of money to help officers who protected the state was good thing. But if those border officers must die or be injured and suffer greatly from their successful act of protecting the country, yet inside the country was still of chaos, then their sacrifice would be wasted. It would be regretful that we lost lives, supplies, money and effort spent. We all then have duty to maintain the interior peace using all capacity we have.3.The speech given to the Organizing Committee of ‘RaPhee Day’ at Chitlada Palace on Thursday February 4, 1971. The audience was granted to Ukrit Mongkolnavin, advisor of laws Department, Faculty of Laws, Chulalongkorn University,as Chairman, and the Organizing Committee of ‘Raphee Day’ to present money for Ananda Mahidol Foundation, Laws Discipline;and the publishing committee of Laws Problems for People Book to present money for His Majesty’s pleasure. The speech of His Majesty on the occasion state that…..
State with Peace and Discipline Must Follow the Laws
Interest in laws was the most important thing for the state because the state with peace and discipline must follow the laws.At present,we saw that domestically and internationally, laws were getting weaker while difficulties increasing.The problem was why laws were deteriorating instead of being more developed.Then we must look for the reasons. First was the increase of world population while education was slow to catch up with that increase. Another reason was because development of all aspect did not progress equality. [I] felt that modern people looked only at knowledge progress but not at ways of living. That was we preferred scientific advance and other knowledge while forgot that science and other knowledge were to be used in everyday living. If this progress was not in proportion with everyday living progress then [I] like to say ‘losing a way’ which meant we could not stand up . This was because the scientific development could take us to the moon like it can now while the knowledge of living progress was sufficient living as living normal daily life and not too extravagant. Then we would fall over, so would the world population. If we did not want the world to scatter or we would not fall off the edge then we must try to apply advancement to daily life. The publication of the book could be seen as applying knowledge to daily life. As for the volume that you said you could published five thousands copies per month, Thai population was over thirty million now but those who would read, although the book was written in simple terms of would read for further benefits, were still not many.This was because basis education was still not enough. So what you did was the right effort worthy of praise.But you should not forget that it was crucial to increase your interest. Your interest should be not only when studying but also after graduate. Whether you would be teachers,lawyers, Judges or whatever careers you had chosen. You should consider what to do to ensure peace and discipline and to ensure that laws were still prominent in the country.
Enactment without Enforcement Mean No laws
Based on my visits to many areas,[I] saw there was still important issue which was knowledge to read and learn; interest to seek betterment of the people; chance to attend school and seek progress were still lacking, very limited. But the hearts to seek knowledge were not. In a village in a very remote area far from the so-called civilization, and people must walk five hours to get to, there was still the need for education. It was so bad that the villagers put money together to hire a teacher to teach in a shack. When I visited them, I donated money enough to build a school. This showed the need of ordinary people to seek knowledge and betterment of life. Therefore,the effort of you all, students and lecturers with academic interest, to ensure they understand laws were good.But I want you to realize and know that laws did not have it all. This was because those with legal knowledge would make laws so that there were rules and regulation, but laws without enforcement meant no laws at all. Worse than that would be those with legal knowledge taking advantage of those who knew less. Also the saying that every citizen knows the laws is not true and cannot be true. It was the state’s fault not to inform the citizen of the laws and it was the lawyers’ fault to make laws not suitable for the country’s climate . So to think of legal benefits which were important, I asked you to think of who your target beneficiaries would be. That was who the beneficiaries from the laws were and they were definitely people. Like for Thai laws, it would be people in Thailand. There were still lots of them not getting any benefit from the legal system. Mainly due to lack of knowledge by lack of education and lack of dissemination of legal knowledge. Moreover, it was because laws could not access and be used in those areas. There were also many problems relating to the enforcement of laws such as officials could not access to observe the areas. So I like to ask you to study the benefits of laws and how to enhance those benefits by taking into consideration the life of laws and people in current environment, current state of mind and current state condition before carrying out the duty of law interested persons. By the term law interested persons, I meant as you are studying laws in university, as lectures, as graduates.
- The speech given to the Organizing Committee of ‘Raphee Day’ at Chitlada Palace on Wednesday March 8 , 1972. The audience was granted to Ukrit Mongkolnavin, advisor of Laws Department, Faculty of Laws, Chulalongkorn University, and the Organizing Committee of ‘Raphee Day’ to present money for His Majesty’s pleasure to use for Ananda Mahidol Foundation, Laws Discipline.His Majesty gave a speech stating that….
Why Crime Has Increased
Regarding the most talked about topic of which the result was not known yet but the topic has been of interest for general public was that nowadays people were curious that why crime had increased. At least it could be seen from the newspapers or general news that crime had increased. Some criticized that the criminals even when arrested would not learn their lessons. Other said that punishment was not enough to teach them nor make them afraid of the state’s punishment. This was the anxiety for general public as crime caused concern for innocent people and difficulty for state officials both in terms of suppression and governance. Crime also reflected the state as a whole as it hindered the development of the country. This problem I felt was a rather difficult one as many forgot that crime suppression was to prevent action in breach of laws only. In fact the laws were rules and regulation written down to ensure that the state have framework for people to act accordingly and to ensure that the state was a peaceful one in which the people would not take advantage of each other.
Old Laws
To say that laws is old on ‘Raphee Day’ would defame His Royal Highness’s honour,the Father of Laws,as His Highness was the one laying down all the foundation of laws. It may seem true but in fact it might be the word ‘old’ that made us feel not right. By nature, laws could be changed and not because of it being ‘old’ People under the laws and the world community had changed and that was why the laws seemed old. So when I said the laws were old, it was just factual. This was because when there were change in society, then some words , some rules or some punishment may have to be changed. But when we talked about the principle of laws,they were just tools making people in a group, community, society live together peacefully without taking advantage of each other. This principle never changed but the methods. Moreover, laws were laid down as rule; these rules may never change , but the practice may. If you practiced the laws strictly, like in juridical practice, then you would say duty of laws were not to arrest but to consider if it was right or wrong and then the suitable punishment for such action, Therefore, if the laws were old it would be because of the punishment. The punishment may not be proportionate with the crime committed. For example, the punishment by monetary fine, money value always changed. When time passed then money changed its value. In the past, having five satang was rich, but now ten baht was not quite enough. This was matter of condition not the laws but economic or monetary condition. That was the matter of punishment. Other matter like suppression to decrease crime rate would be up to the capacity of the suppression agency which was police force. The ability to catch criminal for punishment was up to the police not juridical agency or the legal side. When we talked about police,there were also political or social factors which were not the matter of laws. Thus,my explanation on the old aged laws was thorough. The criticism that crime had increased because the laws were old was not complete and could not yield any result.
Talking about whether or not the law was old, it could not be concluded either way.Talking about how advance crime was, it was advance according to the scientific advance and the knowledge transferred among the criminals, which I understand, had advanced. This was in the past they had used their physical power and not advanced weapon.Nowadays,weapons were more modern and self-assembled weapons were easier because the materials to assemble them were more available in markets. There was also knowledge available on mass media,radio and television on criminology. So it could be concluded that criminals had advanced. But if I said that criminals were advanced , on the other hand, I could also say that the laws were outdated or in our term ‘old’. In all what I had discussed would be knowledge and enjoyment to sharpen your brain. But if you considered this according to your studying, it would not be academic but enjoyment and laymen’s criticism. It was not academic debate or research of any kind. However, what I had talked about would be useful to sharpen the listeners’ and the practitioners’ brain in one way or another. In my speech I would like you to gain maximum benefits and take any new knowledge heard here for further consideration. I liked to also ask that you as the students of this field consider the completeness of my discussion and further consider it in your own thought that this problem existed but may not be expressed in the right terms. The important question was that laws were important for a state to keep peace and discipline and how we would do to achieve the objective which was the objective of laws studies.When you studied you must pay attention to this issue as an important target.What you learnt as academic principles, you should consider to seeing their benefits.
I asked you to be studious and seek knowledge when you had a chance to study. This would be a way to increase knowledge which would be your important strength. I also asked you to carefully consider your behaviours in the present condition. When graduated and used the knowledge you had learnt, I asked you to keep learning and be mindful to criticize and seek your life objectives. These would ensure that the country and society benefit from each of you who were the real force leading the country to prosperity and peaceful state.
5.The speech given to the Organizing Committee of ‘Raphee Day’ at Chitlada Palace on Wednesday June 27,1973. The audience was granted to Ukrit Mongkolnavin, advisor of Laws Department, Faculty of Laws, Chulalongkorn University,and the Organizing Committee of ‘Raphee Day’ to present the proceed from a seminar held at Chulalongkorn University Auditorium on August 7,1972, for His Majesty’s pleasure to use for Ananda Mahidol Foundation, Laws Discipline. The speech given stating that….
Duties of Laws Keepers and Practitioners
Laws were very crucial for a state because there were principles of co-existence as country.There were to ensure peaceful living so that everyone in the nation could prosper without taking advantage of each other. Duties of laws keepers and practitioners were varied. The first was to ensure that everyone could follow the laws and when there was an incident, the duty was to ensure that legal procedure was carried out justly so that no one lost out.In this regard ,all the people must be educated on the causes of laws which you had currently offered the service to the people. Moreover,you had to understand the laws so that you could serve the people best.
This meant that if there was loophole or outdated laws, you would have to study to seek improvement. We had to consider based on the notion that laws were for the peace of the state not to control people. If we aimed to control people then it would turn into a tyranny state where in minority would force and control the majority. On the contrary, laws were so that the majority had freedom and lived together peacefully. Sometime, we drew up laws based on knowledge learnt from other countries. This was laws are vast subject. But the knowledge may not be appropriate for our condition or location. May be I had cited the sample on the habitable land of people in remote areas where laws could not be used to govern them. It was our fault for not being able to access the people in remote areas thus making them unaware of the laws. The fault was therefore with the laws endorsers rather than the laws followers. This issue should be considered as a principle too. So we must find ways to practice laws according to the laws of nature.There was one particular case I had experienced. It was case study and I liked to talk about and saw it as another crucial problem. It was related to land and villagers in remote areas like in a reserved park which officials would draw a line whether it was reserved park or allocated forest. We drew a line when there were people already lived there . To enforce the reserved park on the people who had lived in the allocated forest before it was made reserved park by drawing a boundary on paper would be peculiar. But it happened. The people who lived there then became laws offenders. When you considered it legally then it was because the act was legally promulgated. But by nature, who was really breaking the laws. It was the one who drew the line because those people lived there before. They had their right as human.It meant the state offended them, not they offended the state laws. It was problematic and happened many times when trials were brought against them. I had talked about this before and you may wonder why I talked of it again. This was there was another thought beyond this. These people broke the state laws once more when the reserved land was open for allocation. Because they again trespassed on the owned land. That was rather astonishing. This was because when the land was open for allocation then those who lived in the forest should have had the right over the land. Yet they became trespassers. This was because when the reserved park was open for allocation, people went to apply for right to use the land. It was legal as they went to the local administration office and applied. Then the rightful owner went to drive out the people who lived there. Now these people became defendant in a trespassing case. This was very unjust. There was a law on the occupation of land which said that people could occupy a vacant land or unprotected vacant land. Now there was justice in this case. I had tried to tell concerned officials as there should be a way to deal. If we opened up a reserved park or an allocated forest, any forest whose access was forbidden then should not be occupied at all or at least for a year or so, There should be some restrictions. This was where the laws should be amended. If we did so we could prevent a list of those who put their name down,say,even before the opening as such. The applicants mostly knew in advance and that was already unfair in itself. They knew in advance that the forest would be classified as not reserved and put their names down. This should be stopped. If the forest was opened it should be, say, provincial authority who allocate the land for people with no land or people who already lived there. Then the land could be allocated for them so that they could earn their living honestly. This would solve the problematic situation even the problem of terrorist. So there must be research or amendment of some parts of the laws. You may say it was not the responsibility of the Department of laws to amend the laws but rather the Legislative Assembly. But the assembly, normally,consisted of MPs. Thought there might be some law practitioners among them,these MPs are professional MPs. By that I meant they were politicians under political parties working in the House and were not scholars. So it would need law scholars which mean those who had studied laws thoroughly. And if the law scholars did not take interest in the real problems but concentrated only on theories,then it would be no use .But if the law scholars or law interested persons looked at these facts then laws would help ensuring the state peace. This would help to point out to the Assembly which laws should be amended.
People in Thailand would Own no Land…. People would be Slave
I told you this because I had seen these problems and afraid that the people in Thailand would own no land.Without land, they would have to work as other’s slave. And I did not want to see them being enslaved. In our history, each citizen was truly Thai in that they had accommodation and work to sustain their living. Now things had changed frighteningly in that people were becoming land slave under capitalists. This was worth consideration because Thailand was once blamed for feudalism. In fact our feudalism was not like what they interpreted or enslavement. We had the system that everyone had their own piece of land and their accommodation. Now,it had become what they blamed us like the European system in the middle-age. It was a multi-tier system and the worst affected was the one close to the land or the sandworm. I have seen those people who had worked in their own land saw themselves as sandworm due to the frustration and hardship. In fact they used to work in their own lands then sold their land to capitalists because they thought it was good money which would bring them happiness. Then the money ran out and they became labour in their own land and finally enslaved. If we could eliminate this problem by allocating the forest land justly and set up what we could call community, group or co-op then those poor people could develop themselves. Though that would need appropriate laws or regulations or amend laws or regulations accordingly. So I liked to rest these issues with all of you, lectures and students, that there were legal problems in many aspects. First was the aspect of laws practice in which it was necessary to serve the people, inform them of the laws and gave them assistance and helps.Another aspect was to amend the laws, not to revolve but to amend it to suit current situation and locale and our nation. Suppose that when we began to relocate people we inform the media the number of families in the area we were working on and where they were relocated to. Show them the area where people could live. This would ensure that we were capable of keeping righteousness, unity and affection of the people. Then there was no need for us to be a slave of the thoughts that we may think was modern. Whatever thought that could give us peace and happiness was modern enough. I liked to rest all these thoughts with you as they would be useful. However, I wished you success in deliberating thoughts that were good and kind. For students I wished you success in your study as it would benefit yourself, the state and the society, I wished you all happiness and prosperity.
His Majesty’s legal intellect that I have cited here were of modesty compared to the speeches that I have been given. All of these speeches were not read out from pre-scripted pages as they were given from His Majesty’s contemplation and opinion that were rooted in His Majesty’s mind. They are therefore worthy of thoughtful and careful consideration and be adopted for the benefits of the nation and the people as per His Majesty’s intention.
Ruling a state must be through laws. But the laws must be just and law enforcers must value justice. Then the society would achieve the true peace. It is rightly according to the Oat of Succession given on the Coronation Ceremony on May 5,1950 that….
“We will reign with righteousness for the benefits and happiness of the Siamese people”
Professor Dr.Ukrit Mongkolnavin
Dean,Faculty of Laws,Chulalongkorn University, 1972-1978
President, the National Assembly, 1984, 1985-1989,1991,1992
Note : The essay on “His Majesty’s Intellect on Legal System”is republished by permission of Professor Dr.Ukrit Mongkolnavin,the former President of the National Assembly to honour His Majesty on the occasion of the 60th Anniversary Celebrations of His Majesty’s Accession to the Throne.