การดำรงตำแหน่งสำคัญ


page01.1

ประวัติย่อ (ข้อมูลจากวิกิพีเดีย)

  • พลอากาศเอกหะริน หงสกุล เคยเป็นผู้ช่วยทูตทหารอากาศประจำกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ต่อมามีตำแหน่งทางการทหารสูงสุด เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาหลายสมัย ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน เมื่อ พ.ศ. 2519-2520 ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2520-2522 และประธานวุฒิสภา พ.ศ. 2522-2526 เป็นประธานรัฐสภาระหว่าง พ.ศ. 2519-2526 พลอากาศเอก หะริน เป็นนักเขียน มีผลงานการเขียนประจำในหนังสือต่วย’ตูน  และได้รับการเชิดชูเกียรตินักเขียนอาวุโส รางวัลนราธิป ประจำปี พ.ศ. 2546
  • เกรียง กีรติกร (สกุลเดิม เอี่ยมสกุล) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2517 ถึงปี พ.ศ. 2518 เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งกรมวิชาการ ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ การประกาศแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2494 ซึ่งเป็นการขยายให้การศึกษาภาคบังคับไปสู่ภูมิภาค และเป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาการศึกษาในหลายด้านจนได้รับการกล่าวถึงว่าเป็น “เสาเอกแห่งการประถมศึกษาไทย” และเป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภา

page01.2

ประวัติย่อ (ข้อมูลจากวิกิพีเดีย)

  • จารุบุตร เรืองสุวรรณ เป็นครูหลายโรงเรียน ได้แก่ ในปี พ.ศ. 2481 เป็นครูประชาบาลโรงเรียนวัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี ปลายปีเป็นครูเทศบาล พ.ศ. 2482 เป็นครูโรงเรียนราษฎร์ สงเคราะห์นิยม จังหวัดขอนแก่น ในปี พ.ศ. 2483 จารุบุตร เรืองสุวรรณ ได้สมัครสอบวิชาครู พป. ซึ่งได้อันดับหนึ่งทั่วประเทศ จึงได้รับการคัดเลือกให้บรรจุเป็นครูโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และในปี พ.ศ. 2484 จนถึงปี พ.ศ. 2485 เป็นครูโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2488 ร้อยโท จารุบุตร เรืองสุวรรณเป็นสมาชิกขบวนการเสรีไทย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สังกัดหน่วย 136 กองทัพที่ 14 กองทัพบกอังกฤษต้นปี พ.ศ. 2489 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ประจำคณะกรรมการอาชญากรสงคราม ได้รับพระราชทานยศชั่วคราวเป็นร้อยโท ทำหน้าที่ นายหารติดต่อกับกองทัพฝ่ายสัมพันธิตร เพื่อปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นจารุบุตร เรืองสุวรรณ ลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2489 เคยดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตยในระหว่างปี พ.ศ. 2511 จนถึงปี พ.ศ. 2514 ร้อยโท จารุบุตร เรืองสุวรรณ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่นมาแล้ว 5 สมัยและได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมท้น

page01.3page01.4page01.5page01.6

ประวัติย่อ (ข้อมูลจากวิกิพีเดีย)

  • อาษา เมฆสวรรค์ เริ่มทำงานการเมืองโดยการได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516 ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2528 และระหว่างปี พ.ศ. 2534 จนถึง พ.ศ. 2539 เป็นรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2534 เป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (พ.ศ. 2529) และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี ประกาศยุบสภาฯ จึงยังไม่ทันได้ปฏิบัติหน้าที่

page01.7

 

capture-20141213-104745_Fotor

Hackการดำรงตำแหน่งสำคัญ